Factors Relating Employee Loyalty at Mitsubishi Motors (Thailand) Co., Ltd. Head Quarter

โดย รัชรินทร์ เที่ยงตรงจิตต์

ปี 2552

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด สำนักงานใหญ่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการและระดับผู้บริหาร จำนวน 220 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิของแต่ละตำแหน่งงาน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test การเปรียบเทียบรายคู่ใช้วิธีทดสอบแบบ LSD และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการค้นคว้าอิสระพบว่า ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30-39 ปี สถานภาพสมรส มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีระดับเงินเดือน 20,001-30,000 บาท มีตำแหน่งระดับปฏิบัติการ และมีระยะเวลาการปฏิบัติงานในองค์กรน้อยกว่า 6 ปี มากที่สุด ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กร พบว่า พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กร โดยให้ความส าคัญในด้านประสบการณ์ในการทำงานเป็นลำดับแรก รองลงมาคือด้านลักษะองค์กร และด้านลักษณะงาน ตามลำดับ ความจงรักภักดีต่อองค์กร พบว่า พนักงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กรโดยให้ความสำคัญลำดับแรกคือ ร่วมห่วงใยในอนาคตขององค์กร รองลงมาคือ ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อความสำเร็จขององค์กร และความต้องการดำรงความเป็นสมาชิกขององค์กรตลอดไป ความรู้สึกภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วมกับองค์กร และเรื่องการปกป้องชื่อเสียงขององค์กร ตามลำดับ

ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศและต าแหน่งงาน มีผลต่อความผูกพันและความจงรักภักดีต่อองค์กร ด้านอายุและระดับเงินเดือนมีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ส่วนปัจจัยที่ก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กรรวมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะงาน ด้านประสบการณ์ในการท างาน และด้านลักษณะองค์กร มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กร

This independent study aimed to study demographic factor and engagement factor to the organization that affected organizational loyalty of employees at Mitsubishi Motors (Thailand) Co., Ltd. head Office. Sample group in this study was 200 operational and management level employees. The sampling method was stratified random sampling method of working position. The research tool was questionnaires and the statistics used to analyze data

were percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, LSD for each paired comparison, and Pearson’s correlation coefficient (r) at the statistical significant level of 0.05.

The independent study results found that, in term of demographic factor, most of the respondents were females, age 30-39 years old, married, educational level Bachelor’s degree or equivalence, salary level 20,001 – 30,000 baht, working position at operational level, and period of time working in the organization less than 6 years. In term of engagement factor, the results found that employees engaged to the organization with the first priority in working experiences, second priority in organization characteristic, and followed by work characteristics, and organizational characteristics. In term of organizational loyalty, the results found that employees had organizational loyalty with the first priority in concern with organizational future, second priority in pushing fully the effort for organizational success, and followed by maintaining forever organizational member status, taking pride in joining with organization, and protecting organizational reputation.

The hypotheses testing results found that demographic factor in gender and working position affected organizational engagement, and organizational loyalty in age and salary level affected organizational engagement. In term of organizational engagement factor, three areas including work characteristics, work experiences, and organizational characteristics were related to organizational loyalty.

 

DOWNLOAD : Factors Relating Employee Loyalty at Mitsubishi Motors (Thailand) Co., Ltd. Head Quarter