Demographic Factor Affecting Marketing Mix of Canned Vegetables’ Consumers in Bangkok Metropolitan Areas

โดย ชาคิณี โพธิดอกไม้

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อส่วนประสมทางการตลาดผู้บริโภคผักกระป๋องในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อส่วนประสมทางการตลาดผู้บริโภคผักกระป๋องในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งทำการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครทั้งหมด 400 ตัวอย่าง ได้รับการตอบกลับจำนวน 396 ตัวอย่าง คิดเป็น 99 % และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐานเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) คือ การวิเคราะห์ผลทางสถิติแบบร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) จะตั้งระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 โดยสถิติที่นำมาใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 0.01 ทำการทดสอบเป็นรายคู่ เพื่อดูว่ามีคู่ใดบ้างที่แตกต่างกัน โดยใช้วิธี Fisher’s Least Significant Difference (LSD)

ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 22 – 35 ปี สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือ ปวส. รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท ผู้ที่ตอบแบบสอบถามเคยรับประทานผักกระป๋องทั้ง 396 คน ส่วนใหญ่รับประทานไม่เป็นประจำ ส่วนใหญ่เลือกซื้อผักกระป๋องในห้างสรรพสินค้า การบริโภคส่วนใหญ่บริโภคในซุปเปอร์มาร์เก็ต ในห้างสรรพสินค้า รับประทานน้อยกว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์และ 1 – 5 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นสัดส่วนเท่ากัน ผักกระป๋องที่นิยมรับประทานมากที่สุด คือ ผักรวม สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้เลือกบริโภคผักกระป๋องคือ รูปแบบผลิตภัณฑ์ นโยบายส่งเสริมการขายที่ผู้บริโภคนิยมคือ ส่วนลดด้านราคา สิ่งที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคผักกระป๋องคือ ความพึงพอใจที่มีต่อตัวผลิตภัณฑ์ความสะดวกในการบริโภค ส่วนใหญ่ตัดสินใจบริโภคด้วยตนเองเมื่อต้องการบริโภค ผลการศึกษาทางด้านปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด พบว่าด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ส่งผลต่อผู้บริโภค

ผักกระป๋องในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์และด้านการส่งเสริมการตลาด ส่วนการทดสอบสมมติฐานด้านปัจจัยประชากรศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุสถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนและอาชีพ ที่แตกต่างกันส่งผลต่อส่วนประสมทางการตลาดผู้บริโภคผักกระป๋องในเขตกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

The objective of this research was to study the demographic factors that have an effect on marketing mix of canned vegetables; consumers in Bangkok metropolitan areas. Survey research methods were used in this study by collecting data from questionnaires. 99% of the questionnaires were completed (396 out of 400). The data were analyzed by using SPSS for Windows. Descriptive statistics in forms of percentages, arithmetic means and standard deviations were used in describing sample characteristics. Statistical analysis was performed using Student t-test, Analysis of Variance (One-way ANOVA) and Fisher’s Least Significant Differences (LSD) at significance level of 0.05 and 0.01.

The results of this study showed that most of the respondents were female, aged between 22-35 years with educational background of diploma or higher vocational certificate, working as private company employees. All 396 respondents had tried canned vegetables. Most of them purchased canned vegetables from the supermarkets available in the department stores. Numbers of consumers purchasing canned vegetables at the frequency of less than 1 time/week were comparable to that of 1-5 times/week. The most popular canned vegetables was mixed vegetables and the main reason for purchasing was product design. Price is the most important factor that motivates consumers to buy the product. Marketing mix factor analysis indicated that price and distribution routes are the most influencing factors of buying behavior of canned vegetables’ consumers in Bangkok metropolitan areas. Product design and sales promotion also affect buying behavior of canned vegetables. Hypothesis testing showed that demographic factors such as gender, age, marital status, educational background, monthly income and occupation, does not affect marketing mix of canned vegetables’ consumers in Bangkok metropolitan areas at significance level of 0.05.

DOWNLOAD : Demographic Factor Affecting Marketing Mix of Canned Vegetables’ Consumers in Bangkok Metropolitan Areas

Comments are closed.