พฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับในจังหวัดปทุมธานี

โดย ภมร อินทองคา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับ ของประชากรจังหวัดปทุมธานี ตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และลักษณะที่อยู่อาศัย (2) ศึกษาระดับความสัมพันธ์ของส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อไม้ดอกไม้ประดับของประชากรจังหวัดปทุมธานี โดยทาการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดปทุมธานี จานวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)ค่าสถิติ t-test กับกลุ่มตัวอย่างที่มี 2 กลุ่ม และค่าสถิติ F-test กับกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 2 กลุ่ม ขึ้นไปโดยทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least-Significant Different) และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21 -30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ 10,001 -20,000 บาท และมีลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นแบบทาวเฮาส์ มีพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับส่วนใหญ่เลือกซื้อไม้ใบ เช่น โกศล/เฟิร์น/โพธิ์ใบแดง ได้รับข้อมูลจากเพื่อน/คนรู้จัก/ญาติพี่น้อง ลักษณะการนาไปใช้งานคือปลูกเป็นกระถาง ส่วนใหญ่เลือกซื้อจากร้านขายต้นไม้ที่เป็นแหล่งรวมไม้ดอกไม้ประดับ มีค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้งต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1,000 บาท จานวนไม้ดอกไม้ประดับที่ซื้อต่อครั้ง 1 -5 ต้น จานวนครั้งในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับคือ 1 -3 ครั้งต่อเดือน นิยมซื้อไม้ดอกไม้ประดับจากแหล่งเดิม และส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อไม้ดอกไม้ประดับด้วยตนเอง ส่วนระดับความสำคัญของเหตุผลการเลือกซื้อไม้ดอกไม้ประดับ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในระดับมากทุกด้าน โดยให้ความสำคัญกับการซื้อตามหลักฮวงจุ้ยมากที่สุด รองลงมาคือซื้อเพราะความชื่นชอบของไม้ดอกไม้ประดับ ซื้อตามความเชื่อโชคลาง และซื้อเพื่อเปลี่ยนต้นเดิมที่ทรุดโทรมและผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าเพศและอายุที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับไม่แตกต่างกัน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับแตกต่างกันในด้านจานวนไม้ดอกไม้ประดับที่ซื้อ อาชีพที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับแตกต่างกันในด้านจานวนครั้งในการซื้อและด้านเหตุผลในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับ ส่วนรายได้ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับแตกต่างกันในด้านจานวนครั้งในการซื้อและด้านเหตุผลในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับและลักษณะที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อไม้ดอก ไม้ประดับแตกต่างกันในด้านเหตุผลการซื้อไม้ดอกไม้ประดับ ส่วนผลการทดสอบความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับยกเว้นด้านเหตุผลในการซื้อ

The purposes of the study were (1) to make comparisons of the purchasing behavior on flowers and garden trees of the inhabitants in Pathumthani Province according to the personal factors on gender, age, education level, occupation, and residence type, (2) to investigate the relationship levels of marketing mix which affected the purchasing behavior on flowers and garden trees of the inhabitants in Pathumthani Province. The questionnaires were used to collect the data from 400 samples in Pathumthani Province. Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) was used to calculate statistical values from the collected information. The statistics used for data analysis consisted of Percentage, Mean, Standard Deviation, F-test, Least Significant Difference and Pearson Correlation.

The study revealed that most of the respondents were female, 21-30 years of age, graduated with Bachelor’s degrees, worked in private enterprises, earned an average income between10,001-20,000 Baht, lived in townhouses, preferred to purchase foliages such as croton, fern, red leave bodh, obtained information from friends/acquaintances/relatives, planted the purchased flowers and garden trees in the pots, selected to buy flowers and garden trees from the shops in flower purchase center, spent 1,000 Bath or lower on each purchase, took 1-5 pieces of flowers or garden trees for each purchase, bought flowers or garden trees 1-3 times a month, repeated purchasing from the same shops, and made decisions to buy flowers and garden trees by themselves. According to the significant levels of the reasons concerning the choice of purchasing flowers and garden trees, the respondents revealed the high significant levels of all aspects. The highest level of significance was purchasing flowers and garden trees with respect to the Feng Shui, the next were purchasing flowers and garden trees due to their admiration, the belief in superstitions, and the needs to substitute for the old plants. The respondents considered on the overall marketing mix factors at a high level.

The results of hypothesis study illustrated that different gender and age caused no difference in the purchasing behavior on flowers and garden trees. Different levels of education caused difference in the purchasing behavior on flowers and garden trees according to the numbers of flowers and garden trees purchased. Different occupations caused difference in the purchasing behavior on flowers and garden trees regarding the number of times purchasing and purchasing reason. Different income caused difference in the purchasing behavior on flowers and garden trees regarding the number of times purchasing and purchasing reason. Different types of residence caused difference in the purchasing behavior on flowers and garden trees in term of purchasing reason. The result of hypothesis test indicated that the marketing mix factors had no correlation with the purchasing behavior on flowers and garden trees, however there was a correlation with the aspect of purchasing reason.

DOWNLOAD : พฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับในจังหวัดปทุมธานี