พันธุ์และวิทยาการผลิตที่เหมาะสมของข่า (Alpinia sp.) ทางด้านเกษตร อาหาร คลินิกพืชและสัตว์ โครงการย่อยที่ 4.3.1 : อิทธิพลของวันเก็บเกี่ยวต่อการเจริญเติบโตผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข่าแดง

โดย รัชตา ทนวิทูวิตร

ปี     2548

บทคัดย่อ

การศึกษาอิทธิพลของวันเก็บเกี่ยวต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข่าแดง ได้ปลูกทดลองที่ศูนย์ฝึกนักศึกษาคลองพระยาบันลือ ตำบลบ้านม้า อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างเดือนมกราคม 2548 ถึง พฤษภาคม 2549 วางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำ 3 วันเก็บเกี่ยว คือ ที่ 6, 8 , 10, 12 และ 14 เดือน ผลการทดลองพบว่า ข่าทั้งห้าวันเก็บเกี่ยวมีลักษณะการเจริญเติบโตทางลำต้นต่างๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่อายุเก็บเกี่ยวที่ 14 เดือน จะให้ความสูงกอ จำนวนต้นต่อกอ จำนวนใบต่อกอ และดัชนีพื้นใบสูงสุด เท่ากับ 217.5 เซนติเมตร 74.1 ต้น 558.6 ใบ และ 11.3 ตามลำดับ ในด้านผลผลิต องค์ประกอบผลผลิตและองค์ประกอบทางเคมี พบว่า อายุเก็บเกี่ยว 14 เดือน ให้องค์ประกอบผลผลิตโดยรวมดีกว่าวันปลูกอื่นๆคือมีน้ำหนักเหง้าสดต่อกอสูงโดยเฉพาะน้ำหนักเหง้าสด ต่อกอสูง โดยเฉพาะน้ำหนักเหง้าสดในลำดับที่สี่และห้าส่งผลให้ผลผลิตเหง้าสดต่อไร่สูงไปด้วยเฉลี่ย 24.4 ตันต่อไร่ ขณะที่อายุเก็บเกี่ยว 12 เดือน ให้ดัชนีเก็บเกี่ยวสูงที่สุดเฉลี่ย 0.45 และอายุเก็บเกี่ยว 10 เดือน ให้ร้อยละของน้ำมันหอมระเหยสูงที่สุด ร้อยละ 0.35 ต่อ 100 กรัม อายุเก็บเกี่ยวที่เพิ่มขึ้น ไม่มีผลทำให้องค์ประกอบทางเคมีเหง้าข่าเพิ่มขึ้น องค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญได้แก่ 1, 8-cineol มีอยู่ระหว่าง 43.56-48.70

DOWNLOAD : พันธุ์และวิทยาการผลิตที่เหมาะสมของข่า (Alpinia sp.) ทางด้านเกษตร อาหาร คลินิกพืชและสัตว์ โครงการย่อยที่ 4.3.1 : อิทธิพลของวันเก็บเกี่ยวต่อการเจริญเติบโตผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข่าแดง