การรับรู้ของบุคลากรสายสนับสนุนต่อสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

โดย รุ่งราตรี วันดี

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ของบุคลากรสายสนับสนุนที่มีต่อภาระหน้าที่สภาคณาจารย์และข้าราชการ ผลของการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะได้ทราบถึงระดับการรับรู้ของบุคลากรสายสนับสนุนต่อภาระหน้าที่ของสภาคณาจารย์และข้าราชการเพื่อนาไปใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการองค์การ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาการรับรู้ในหน้าที่ตามภาระหน้าที่ของสภาคณาจารย์และข้าราชการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรสายสนับสนุนทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จานวน 212 คน แบ่งตามสถานภาพการทางาน 2 กลุ่ม คือ ข้าราชการ157 คน และพนักงานมหาวิทยาลัย จานวน 55 คน โดยวิธีประชากรกลุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ผลด้วยสถิติค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบ Independent Sample t-test และ One-Way ANOVA เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่าง
       ผลการวิจัย พบว่าบุคลากรที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี การเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลในภาพรวมพบว่าบุคลากรที่มีเพศ อายุ อัตราเงินเดือน อายุราชการ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ และการใช้สิทธิ์เลือกตั้งแตกต่างกัน มีการรับรู้ต่อหน้าที่ของสภาคณาจารย์และข้าราชการไม่แตกต่างกัน พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผ่านสื่อต่าง ๆ พบว่าบุคลากรส่วนใหญ่มีการเปิดรับข่าวสารด้านบันทึกข้อความคาสั่งหนังสือเวียนมากที่สุด รองลงมาคือ เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยฯ สื่อโปสเตอร์ป้ายประกาศบอร์ด สื่อคาพูดคุยสนทนาสอบถามบอกเล่า จดหมายข่าว วารสารแผ่นพับ ป้ายประกาศภายนอกรั้วมหาวิทยาลัยฯ การจัดนิทรรศการสัมมนาอบรมงานแสดง หนังสือพิมพ์โทรทัศน์สถานีวิทยุอื่น สถานีวิทยุของมหาวิทยาลัยฯ และตัวอักษรวิ่งจากบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ
       การเปรียบเทียบการรับรู้ต่อหน้าที่ของสภาคณาจารย์และข้าราชการกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารที่แตกต่างกันของกลุ่มตัวอย่าง ทุกประเภท คือ 1) บันทึกข้อความ คาสั่ง หนังสือเวียน 2) จดหมายข่าว วารสาร แผ่นพับ 3) สื่อโปสเตอร์ ป้ายประกาศ บอร์ด 4) ป้ายประกาศภายนอกรั้วมหาวิทยาลัยฯ 5) เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยฯ 6) ตัวอักษรวิ่งจากบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ในมหาวิทยาลัยฯ 7)สถานีวิทยุของมหาวิทยาลัยฯ 8 หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ สถานีวิทยุอื่น 9) การจัดนิทรรศการ สัมมนา อบรม งานแสดง 10) เสียงตามสายภายในมหาวิทยาลัย และ 11)สื่อคาพูดคุย สนทนา สอบถาม บอกเล่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

       This study aimed to investigate the support officers perceptions on undertaking of Faculty Senate. The results of study illustrated the level of support officers perceptions on the undertaking of Faculty Senate, and could apply as a guideline for organization management. The population used in the study consisting of 212 support officers working at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The population was divided by work status into 2 groups, i.e. 157 government officials, and 55 university officers. The questionnaires were used as a data collection instrument, and the data were analyzed applying Frequency, Percentage, Means, Standaed Deviation, Independent Sample T-test and One-Way ANOVA.
       The study demonstrated that most of the respondents were female and graduated with Bachelor’s degree. The overall personal factors on gender, age, salary rate, work tenure, education level, work position and the right of election indicated no difference in the perceptions towards the undertaking of Faculty Senate.
       The perception behavior on media exposure was found that most of the supporting officers exposed to media perception through interoffice memorandum, the next perceptions were through the university website, posters, notice boards, talking, newsletters, brochures, banners around the university, exhibitions, seminars, trainings, show on stage, newspapers, televisions, other radio stations, university radio and illuminated electric message board respectively.
       The comparison between the support officers perception behavior on the undertaking of Faculty Senate and perception behavior on media exposure through every kind of media i.e. 1) interoffice memorandum, circulated letter, 2) newsletter, journal, brochure, 3) poster, notice board, 4) banners around the university, 5) university website, 6) illuminated electric message board in the university, 7) university radio, 8 newspaper, television, other radio stations, 9) exhibition, seminar, training, show on stage, 10) university audio, and 11) talking, enquiring, were found significant difference.

DOWNLOAD : การรับรู้ของบุคลากรสายสนับสนุนต่อสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี