Inhibiterial efficacy of piper ribesoides wall. and piper betle linn. extracts on fungal growth

โดย ปิยะวดี เจริญวัฒนะ  และสุมนา ปานสมุทร

ปี 2550

บทคัดย่อ

จากการนำสารสกัดหยาบจากสะค้าน (Piper ribesioides Wall.) และพลู (Piper betle Linn.) สกัดด้วยตัวทำลาย 5 ชนิด คือ อะซิโตน เฮกเซน ไดคลอโรมีเทน เอทิลอาซิเตท และเมทานอล และทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่สำคัญ ได้แก่ Aspergillus flavus A747, Aspergillus niger KUFC4523, Colletotrichum gloeosporioides KUFC4636 และ Penicillium sp. KUFC4420 โดยทำการทดสอบด้วยวิธี Paper Disc Diffusion พบว่าสารสกัดหยาบสะค้านในอาซิโตน และไดคลอโรมีเทน ให้ค่าเฉลี่ยเส้นผ่าศูนย์กลางของบริเวณยับยั้งเชื้อ C. gloeosporioides มีค่าเท่ากับ 2.3 และ 1.5 เซนติเมตร ส่วนสารสกัดหยาบจากพลูที่สกัดด้วยเอทธิละซเตต อะซิโตน และไดคลอโรมีเทน ที่ระดับความเข้มข้น 400-500 mg/ml พบว่าสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา A. flavus, C. gloeosporioides และ Penicillium sp. โดยให้ค่าเฉลี่ยบริเวณยับยั้งเชื้อรา 2.25-2.55 เซนติเมตร ซึ่งประสิทธิภาพของสารสกัดพลูขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำละลายและความเข้มข้นของสารสกัด และอาจใช้สารสกัดจากพลูในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดที่เข้าทำลายพืชและปนเปื้อนในผลิตผลทางการเกษตรเพื่อทดแทนการใช้สารเคมีได้ต่อไป

Crude extracts from leaves of Piper ribesioides Wall. And Piper betle Linn. With five different solvents: acetone, hexane, dichloromethane, ethyl acetate and methanol as elution were tested for antifungal activity on Aspergillus flavus A747, Aspergillus niger KUFC4523, Colletotrichum gloeosporioides KUFC4636 and Penicillium sp. KUFC4420 using Paper Disc Diffusion method. The crude extracts of P. ribesoides in acetone and dichloromethane could inhibit the growth of C. gloeosporioides which give the inhibition zone at 2.3 and 1.5 centimeters, Respectively. The crude extracts of P. betle eluting with ethyl acetate dichloromethane and acetone were found predominantly on its efficiency in inhibit A. flavus, C.gloeosporioides and Penicillium sp. At the concentration of 400-500 mg/ml and give the inhibition zone of 2.28-2.55 centimeters. The effectiveness of inhibition zone of P. betle depends largely on the types and concentration of the extracts. These results suggest that the  P. betle extracts can provide as alternative approach other than the fungicides in controlling various plant pathogenic fungi which contaminated in agricultural products.

DOWNLOAD : การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพจากสารสกัดจากสะค้านและพลูในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราบางชนิด