Study on genetic basis of native orchid [dendroblum sp.]

โดย ปิยะวดี เจริญวัฒนะ, ราตรี พระนคร และสุดารัตน์ สกุลคู

ปี 2550

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ท้องถิ่นสกุลหวายที่เก็บรวบรวมจากจังหวัดสกลนครและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อตรวจสอบลายพิมพืดีเอ็นเอและศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมเพื่อช่วยในการจำแนกความแตกต่างระหว่างพันธุ์กล้วยไม้ สำหรับใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงพันธุ์ในอนาคต โดยทำการศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอของกล้วยไม้ท้องถิ่นสกุลหวาย จำนวน 18 ชนิด ด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี จากการทดสอบกับไพรเมอร์ 17 ชนิด พบว่ามีไพรเมอร์ 4 ชนิด คือS73, S90,S147 และ ISSR 11 ที่ทำให้แถบดีเอ็นเอชัดเจนจำนวน 9,6,7 และ 6 แถบตามลำดับ โดยมีขนาดตั้งแต่ 200-2500 คู่เบส ในกล้วยไม้ที่มีดีเอ็นเอคุณภาพค่อนข้างดี สำหรับกล้วยไม้บางพันธุ์ที่มีสารพวกโพลีแซคคาไรด์ปนอยู่กับดีเอ็นเอ พบว่าไม่สามารถสังเคราะห์แถบสีดีเอ็นเอด้วยไพรเมอร์ทั้ง 4 ชนิดได้

The eighteen native orchids collected from Sakolnakorn and northeastern provinces of Thailand were used in this study. The DNA fingerprint can be used for identification the orchid cultivars and also used in orchid breeding in the future. The DNA fingerprint and genetic and genetic diversity among 18 Dendrobium orchid cultivars were studied using RAPD marker technique. There were four markers; S73, S90, S147 and ISSR 11 could generate 9, 6, 7 and 6 bands respectively and contained band size from 200-2500 base pair that amplified from the good quality orchid DNAs in the Polymerase chain Reaction. The orchid DNAs contaminated with polysaccharides could not generate the band from these primers.

DOWNLOAD : การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ท้องถิ่นสกุลหวาย