IMPROVEMENT OF GROUNDING SYSTEM TO REDUCE THE EFFECT OF LIGHTNING OVERVOLTAGE BY BONDING METHOD

โดย ทิตวรรณ สินจันทร์

ปี     2552

บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอแนวทางการปรับปรุงระบบการต่อลงดินและระบบรากสายดิน เพื่อลดผลจากแรงดันเกินฟ้าผ่า โดยใช้วิธีการประสานศักย์ที่เหมาะสม ให้กับอาคารสถานีส่งวิทยุและเครื่องช่วยเดินอากาศ ศูนย์ควบคุมการบิน ที่ได้รับผลกระทบจากแรงดันเกินฟ้าผ่า ส่งผลให้ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องช่วยเดินอากาศเกิดความเสียหาย

โดยทำการสำรวจพื้นที่อาคาร, ระบบการต่อลงดินรวมทั้งระบบรากสายดินของอาคาร และสายสัญญาณที่มีการเชื่อมต่อระหว่างอาคารกับอุปกรณ์เครื่องช่วยเดินอากาศ และทำการวิเคราะห์พฤติกรรมการเกิดแรงดันชั่วครู่ที่มีผลจากค่าความต้านทานและค่าอิมพีแดนซ์ของรากสายดิน เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงระบบรากสายดิน และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ โดยทำการปรับปรุงตามมาตรฐาน IEC และมาตรฐานป้องกันฟ้าผ่าของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

ก่อนทำการปรับปรุงระบบการต่อลงดินและระบบรากสายดิน พบว่าไม่มีการประสานให้ศักย์เท่ากันอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้มีความแตกต่างของค่าความต้านทานดินแต่ละจุด ซึ่งมีค่าสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน คือ 4.7, 5.62 และ 35.9 โอห์ม โดยมีค่าความเหนี่ยวนำรวมทั้งระบบที่ 9.235 ไมโครเฮนรี่ เมื่อทำการปรับปรุงการต่อลงดินและระบบรากสายดิน และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จที่ระบบไฟฟ้าภายในอาคาร ผลจากการปรับปรุงทำให้ระบบรากสายดินและจุดต่อลงดิน ประสานศักย์ถึงกันโดยสมบูรณ์ส่งผลให้ค่าความต้านทานดินลดลงเหลือ 2.44 โอห์ม และค่าความเหนี่ยวนำรวมของระบบลดลงเหลือ 6.595 ไมโครเฮนรี่ เมื่อทำการการวิเคราะห์พฤติกรรมการเกิดแรงดันชั่วครู่ที่ตกคร่อมรากสายดินก่อนและหลังการปรับปรุง ที่ค่ากระแสฟ้าผ่าตรง ที่มีความชันของกระแสหน้าคลื่นแตกต่างกันไปพบว่าแรงดันตกคร่อมรากสายดินมีค่าลดลง ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยของระบบการให้บริการจราจรทางอากาศ ระบบการสื่อสารการบิน รวมทั้งความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้

DOWNLOAD : IMPROVEMENT OF GROUNDING SYSTEM TO REDUCE THE EFFECT OF LIGHTNING OVERVOLTAGE BY BONDING METHOD