Analytical thinking skills development, scientific substance of  learning group for grade 6 elementary education

โดย สิริกาญจน์  ธนวุฒิพรพินิต

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน และสะท้อนผลการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยการบันทึกอนุทิน โดยใช้รูปแบบการทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนชั้นป.6/2 โรงเรียนวัดทองย้อย(วุฒิกรประชานุกูล) จำนวน 28 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์และแบบบันทึกอนุทิน ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและค่าความเชื่อมั่น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ t – test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ 1)ขั้นทบทวนเชื่อมโยงประสบการณ์ 2)ขั้นกิจกรรมนำการค้นคว้า 3)ขั้นปฏิบัติเพื่อหาข้อสรุป  4)ขั้นอภิปรายขยายความคิด 5)ขั้นนำความรู้สู่การเผยแพร่ การเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ พบว่า ค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการสะท้อนผลพบว่า นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจเนื้อหาสาระวิทยาศาสตร์และการคิดวิเคราะห์  ผู้สอนมีรูปแบบการสอนที่น่าสนใจ  มีสื่ออุปกรณ์การสอนที่หลากหลาย  บรรยากาศ  การเรียนสนุกสนาน  และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

The purpose of this research were to; 1) develop instruction model of analytical thinking skills; 2) compare the differences between pretest-posttest analytical thinking skills; and 3) reflect learning activities. The one group pretest-posttest design was used to collect data from 28 students grade 6 Wattongyeod School (Wuttikornprachanukul). The instruments for collecting data were lesson plan of analytical thinking skills, thinking skills test and journal.

The quantitative data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and

t-test for dependent sample. Content analysis was used for qualitative data.

The results of this research revealed that the model of analytical thinking skills was developed 5 steps as follows: 1) review and transfer experience step; 2) inquiry step; 3) finding conclusion step; 4) discussion step;  and 5) knowledge distribution step. The comparison of the differences between pretest-posttest analytical thinking skills was significant at .05 level. The students’ opinion toward learning activities were understanding in science subject and analytical thinking skills, interested in active learning, variety of media, enjoy learning and could be used in real life situation.

 

DOWNLOAD : การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6