Service quality of Rangsit market in Pathumthani province

โดย สุพจน์ วิริยะสาธร

ปี 2554

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการของตลาดรังสิตจังหวัดปทุมธานีและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคาดหวังคุณภาพการให้บริการที่จะได้รับและคุณภาพการให้บริการที่ได้รับจริงของตลาดรังสิตจังหวัดปทุมธานีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้ใช้บริการที่เข้ามาใช้บริการในตลาดรังสิตจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 ตัวอย่าง ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย Independent Sample t-test, One-Way ANOVA และ Paired sample t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพสมรส มีช่วงอายุระหว่าง 30 ถึง 40 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพข้าราชการ และมีรายได้ส่วนบุคคลเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 10,000 – 15,000 บาท ผลวิเคราะห์สมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ประกอบด้วย เพศ สถานภาพ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อความคาดหวังในคุณภาพการบริการที่จะได้รับแตกต่างกัน และสถานภาพสมรสอาชีพ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีผลต่อคุณภาพบริการที่ได้รับจริงแตกต่างกัน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านการได้รับการบอกต่อ คุณภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ได้รับในอดีตแตกต่างกันมีผลต่อความคาดหวังในคุณภาพบริการที่จะได้รับและคุณภาพบริการที่ได้รับจริงแตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบความคาดหวังคุณภาพบริการที่จะได้รับและคุณภาพบริการที่ได้รับจริงพบความแตกต่างกันในด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการสร้างความมั่นใจ ด้านรูปลักษณ์ทางกายภาพ ด้านการดูแลเอาใจใส่ ด้านการตอบสนองและคุณภาพการบริการรวม โดยความคาดหวังคุณภาพบริการที่จะได้รับมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าคุณภาพบริการที่ได้รับจริง

The purposes of this independent study were to investigate demographic factors andrelated factors that affected service quality of Rangsit Market in Pathumthani province, and comparethe differences between perceived and expected of service quality of Rangsit Market in Pathumthaniprovince.The sample group was 400 customers of Rangsit Market at Pathumthani province.Simple random sampling method was used in this study, and the data were analyzed usingdescriptive statistics including frequency, percentage, mean, and standard deviation; and inferentialstatistics including independent samples t-test, one-way ANOVA, and paired samples t-test at thesignificant level of 0.05
The results found that most of the respondents were females, married, 30-40 years old,had Bachelor’s degree, were government employees, and had monthly income at 10,000 – 15,000Baht. The hypotheses results found that the differences of demographic factors including gender,marital status, age, educational level, and monthly income had effects on expected service qualitydifferently. The differences of marital status, occupation, age, educational level, and monthlyincome had different effects on perceived service quality. The differences of related factors in theaspects of word-of-mouth, service quality, and previous experiences had different effects onperceived and expected service quality. The comparison of perceived and expected service qualityfound significant differences on the aspects of reliability, confidence, physical appearance,maintenance, responsiveness, and all of the aspects combined. The expected service quality hadhigher mean value than the perceived service quality.

Download : Service quality of Rangsit market in Pathumthani province