Learning and self-development potential benchmarking between general and vocational education graduates: a case of industrial engineering students of  Rajamangala University of Technology Thanyaburi

โดย จตุพร สีลาน

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทียบเคียงศักยภาพในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง ของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่สำเร็จการศึกษาจากสายสามัญ (ม.6) และสำเร็จการศึกษาสายอาชีพ (ปวช. และปวส.) ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5 ด้านได้แก่ (1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (2) ด้านความรู้ (3) ด้านทักษะทางปัญญา (4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ (5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามนักศึกษา และบัณฑิต และการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบเอฟ (F-test) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่านักศึกษา บัณฑิตและอาจารย์ผู้สอนมีทัศนคติที่สอดคล้องกันคือ นักศึกษากลุ่มปวส.มีศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองสูงที่สุด โดยนักศึกษาและบัณฑิตเห็นว่านักศึกษากลุ่มปวส.มีศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในด้านความรู้ ทักษะทางปัญญา และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสูงที่สุด ส่วนอาจารย์ผู้สอนเห็นว่านักศึกษากลุ่มปวส.มีศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองสูงที่สุดในด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ และทักษะทางปัญญา นอกจากนั้น พบว่า นักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มมีศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และจากการศึกษาผลการเรียนในกลุ่มวิชาชีพพบว่า นักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มมีผลการเรียนอยู่ในระดับดี หมายความว่าการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการสำหรับนักศึกษาที่มีพื้นฐานทางการศึกษาต่างกันมีความเหมาะสม

The purpose of this research is to benchmark learning and self-development potential between General and Vocational Education graduated students at the department of Industrial Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT) regarding The Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF: HEd). There  benchmarking criteria are (1) professional and ethical responsibility, (2) knowledge, (3) intellectual skills, (4) human relation skills and (5) numerical analysis and communication skills and information technology usage.

Use questionnaire survey of students and graduates and in-depth interviews of lecturers. The statistical tools for data analysis are average, standard deviation and F-test by using SPSS statistical software package.

The result shows that students, graduates and teachers have consistent attitudes; the vocational diploma graduates group is The best practice. The attitude of students and graduates that the vocational diploma graduates group was the highest learning and self development potentials in knowledge, intellectual skills and numerical analysis and communication skills and information technology usage. The attitude of instructor that the vocational diploma graduates group was the highest learning and self development potentials in professional and ethical responsibility, knowledge and intellectual skills. In addition, there are statistically significant differences among these groups at p<0.05. Then the result of learning achievement in engineering profession group of industrial engineering students is good level.That means that the teaching of the Department of Industrial Engineering students at different educational background is appropriate.

 

DOWNLOAD : การศึกษาเทียบเคียงศักยภาพในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองระหว่างนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาสายสามัญกับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาสายอาชีพ กรณีศึกษา: นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี