Comparison Achievement Learning about Basic Food 5 Groups from Electronic Book between Linear and Hierarchical Models for Grade 1

โดย ปริญดา เลปนานนท์

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการำนเสนอแบบเชิงเส้นและแบบลำดับชั้น เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการำนเสนอแบบเชิงเส้นและแบบลำดับชั้น เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบเชิงเส้นและแบบลำดับชั้น  และศึกษาความพึงพอใจจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการำนเสนอแบบเชิงเส้นและแบบลำดับชั้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดอัยยิการาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) โดยใช้วิธีการจับสลาก ดดยจับสลากจาก 4 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 60 คน ห้องเรียนที่ 1 เป็นกลุ่มทดลองเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบเชิงเส้นและห้องเรียนที่ 2 เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบลำดับชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบเชิงเส้นและแบบลำดับชั้น โดยใช้เนื้อหาเรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้คือ ค่าทดสอบ t-test แบบ Independent และหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (E1/E2)

 

DOWNLOAD : การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการนำเสนอแบบเชิงเส้นและแบบลำดับชั้น เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Comments are closed.