Students Attitudes Toward The Role Of Teachers Using Positive Discipline In The Secondary School And The Extend Opportunity School, Under The Office Of Pathumthani Educational Service Area 2

โดย สุรีย์รัตน์  สุขสถิตย์

ปี [2555]

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้เรียนที่มีต่อบทบาทของครูในการใช้วินัยบวกและเปรียบเทียบทัศนคติของผู้เรียนที่มีต่อบทบาทของครูในการใช้วินัยเชิงบวกในกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาและกลุ่มโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 2 จากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนช่วงชั้นที่ 3 และนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 จำนวน 377 ตัวอย่างได้มาจากการใช้ตาราง Yamane ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน คือ แบบชั้นภูมิ และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยใช้สถิติเชิงพรรณา การแจกแจง ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.54 กำลังศึกษาอยู่ในระดับช่วงชั้นที่ 3 ร้อยละ 50.66 และสังกัดกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา ร้อยละ 79.31 ทัศนคติของผู้เรียนที่มีต่อบทบาทของครูในการใช้วินัยเชิงบวก อันดับแรก คือ ด้านความต้องการทางพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของนักเรียนค่าเฉลี่ย 3.6 หมายความว่าเด็กนักเรียนต้องการกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดีอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพอนามัยดี ประหยัดค่าใช้จ่ายทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดี ครอบครัวอบอุ่นไม่มีปัญหา คุณภาพชีวิตที่ดีดังกล่าวจะทำให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมของนักเรียน ค่าเฉลี่ย 3.60 การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนและกิจกรรม การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง จะทำให้นักเรียนรู้จักแก้ไขข้อขัดแย้งภายในห้องเรียนของนักเรียนเอง นักเรียนสามารถนำไปใช้นอกห้องเรียนได้ การที่ครูสอดแทรกกิจกรรมระหว่างการเรียนการสอน หรือการทำกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมนั้น ทำให้นักเรียนรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ด้านการเสริมสร้างความสามัคคีในกลุ่ม ค่าเฉลี่ย 3.55 ด้านการเคารพศักดิ์ศรี ค่าเฉลี่ย 3.51 และด้านการพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ค่าเฉลี่ย 3.45 อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านแรงจูงใจและโลกทัศน์ของนักเรียนค่าเฉลี่ย 3.35 และอันดับสุดท้าย คือด้านความยุติธรรม เท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติ ค่าเฉลี่ย 3.26 อยู่ในระดับปานกลางแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนยังได้รับการเรียนรู้และเข้าใจไม่มากพอ ต่อบทบาทครูในด้านแรงจูงใจและโลกทัศน์ของนักเรียนด้านความยุติธรรม เท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติว่าความยุติธรรม อาจหมายถึง ความสุจริต ความเป็นธรรม ความชอบธรรม ความชอบด้วยกฎหมาย ความถูกต้องตามกฎหมาย สิทธิตามกฎหมาย การปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนประเพณี และการปฏิบัติตามหน้าที่ ความยุติธรรมครอบคลุมถึงพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคลนั้น นักเรียนควรมีความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตย เป็นหน้าที่ของบิดามารดาและคุณครู ที่ต้องสร้างความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยอย่างถูกต้องให้แก่เด็กๆ เพราะสิ่งนี้ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เราทุกคนสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมและเกิดความสงบสุข ผลการศึกษาพบว่าผู้เรียนที่มีเพศและระดับการศึกษาต่างกันมีทัศนคติ ต่อบทบาทของครูในการใช้วินัยเชิงบวกทุกด้าน คือ ด้านการเคารพศักดิ์ศรี ด้านการพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้านการมีส่วนร่วมของนักเรียน ด้านความต้องการทางพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของนักเรียน ด้านแรงจูงใจและโลกทัศน์ของนักเรียน ด้านความยุติธรรมเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ และด้านการเสริมสร้างความสามัคคีในกลุ่มไม่แตกต่างกัน ส่วนสังกัดกลุ่มโรงเรียนที่ต่างกัน มีทัศนคติด้านความต้องการทางพัฒนาการและคุณภาพชีวิตของนักเรียน และด้านความยุติธรรมเท่าเทียมกันไม่เลือกปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

This research aims to study the attitudes of students toward the teacher’s role in using positive discipline in secondary schools and the extend opportunity school in Pathumthani Educational Service Area 2. The data were obtained through questionnaires distributed to 377 students in class levels 3 – 4. The data were analyzed of percentage, arithmetic mean and standard deviation, comparative analysis by t-test. The hypotheses were tested at a 0.05 level of significance. The findings of the study revealed that most of the sample groups were female, studying in class level 3 of the secondary school. The attitude towards the teacher’s role using positive discipline, it was found that: (1) the need for student quality of life development (mean = 3.51), and the encouragement of desirable behaviors (mean=3.45) were rated high, whereas the student’s motivation and vision (3.55), and lastly “justice and discrimination”(mean=3.26) were rated at medium level.
The test of hypothesis showed that there was no significant differences between the students of different genders and the class level, regarding the attitude toward the teachers’ role in using positive discipline, in these aspects: (1) the need for student quality of life development, (2) student participation, (3) enhancement of group unity, (4) student dignity, (5) the encouragement of desirable behaviors, (6) student motivation and vision, and “justice and discrimination”, in different school categories at a significant level of 0.05.

Download : ทัศนคติของผู้เรียนที่มีต่อบทบาทของครูในการใช้วินัยเชิงบวกของโรงเรียนมัธยมศึกษาและโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 2