Attitudes toward of online media exposure on social networks : a case study of students at Rajamangala University of Technology Thanyaburi

โดย ศิวัช จันทนาสุภาภรณ์

ปี 2554

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ และเพื่อเปรียบเทียบทัศนคติที่มีต่อการเปิดรับสื่อออนไลน์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 413 คนผลการศึกษาพบว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์ ของนักศึกษาที่เปิดรับสื่อออนไลน์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 – 21 ปี ศึกษาอยู่ในคณะบริหารธุรกิจและวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุด และอยู่ในระดับชั้นปีการศึกษาที่ 3 พฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาคือเลือกใช้งานที่บ้าน/หอพัก ระยะเวลาในการใช้งาน 4 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน ช่วงเวลา 16.01 – 22.00น.โดยใช้งานมากกว่า 6 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์โดยมีจุดประสงค์หลักในการใช้งานด้านดนตรี ภาพยนตร์ และกีฬา ทัศนคติที่มีต่อการเปิดรับสื่อออนไลน์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุดคือ ด้านความรู้สึก มีค่าเฉลี่ย 4.12 รองลงมาคือ ด้านการกระทำ มีค่าเฉลี่ย 4.09 และด้านความคิด มีค่าเฉลี่ย 4.04 ผลสรุปการเปรียบเทียบทัศนคติต่อการเปิดรับสื่อออนไลน์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่ามีความแตกต่างกัน ในด้านความคิด เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามคณะ พบว่ามีความแตกต่างกัน ในด้านความคิด เมื่อจำแนกตามระดับชั้นปีการศึกษา พบว่ามีความแตกต่างกัน ในด้านความรู้สึก เมื่อจำแนกตามสถานที่ในการใช้งาน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามระยะเวลาในการใช้งาน พบว่ามีความแตกต่างกัน ในด้านการกระทำ เมื่อจำแนกตามช่วงเวลาในการใช้งาน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามความถี่ในการใช้งาน พบว่ามีความแตกต่างกัน ในด้านการกระทำ เมื่อจำแนกตามจุดประสงค์หลักในการใช้งานและ เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เลือกใช้งานประจำ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน

The purpose of this independent study was to study the behaviors of online media exposure on social networks as well as to compare attitudes toward online media exposure on social networks. The sample consisted of 413 participants. The results of the independent study showed that the majority of the participants were female, aged between 20 and 21 years who were juniors in Faculty of Business Administration and Faculty of Engineering. According to the behaviors of online media exposure, the result revealed that the participants seemed to receive online media from their home/dormitory for more than 4 hours per day, and an average access time was usually during 4.01 p.m. – 10.00 p.m. They also received online media for more than six times per week with the main purpose to receive online media on music, movies, and sports. The most influenced aspect of attitudes affecting behaviors of online media exposure was feelings, which had a mean of 4.12 followed by past actions with a mean of 4.09 and thoughts with a mean of 4.04, respectively. For a comparison of attitudes toward online media exposure, the result indicated that there was a difference in terms of thoughts when classified by gender and faculty. Meanwhile, there was no difference when classified by age, place of use, access time, purpose, and types of chosen social networks. Moreover, different levels of education revealed different feelings. Finally, different periods of time in receiving online media as well as frequency of use resulted in different past actions.

Download : Attitudes toward of online media exposure on social networks : a case study of students at Rajamangala University of Technology Thanyaburi

Comments are closed.