Factors Affecting the Performance of Accrual Basis Accounting in Service Center of The Ministry of Public Health in Pathum Thani Province

โดย อลีณา เรืองบุญญา

ปี 2554

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดทำบัญชีระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างของผู้ทำบัญชีสถานบริการภาครัฐ ในกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานีประชากรในการศึกษา ได้แก่ จากบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการบันทึกบัญชีเกณฑ์คงค้างของสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ ในกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี จำนวน 86 คน การค้นคว้าครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าอิสระและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Sample t-test, One-Way ANOVA F-test และ Scheffe

ผลการค้นคว้าอิสระครั้งนี้พบว่า บุคคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการบันทึกบัญชีเกณฑ์คงค้างของสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 – 40 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาอื่น ๆ เป็นข้าราชการ มีประสบการณ์ทำงาน 10 ปี ขึ้นไป ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีผู้ทำบัญชีจำนวน 1 คน และมีผู้มารับบริการโดยเฉลี่ยต่อวัน 10 – 50 คน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดทำบัญชีระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างของผู้ทำบัญชีสถานบริการภาครัฐ ในกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี ปัจจัยด้านการจัดการมีผลกระทบมากที่สุดรองลงมาเป็นปัจจัยด้านนโยบายบัญชี ปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคล ปัจจัยด้านวัสดุอุปกรณ์และปัจจัยด้านงบประมาณ ตามลำดับ ปัญหาที่เกิดจากการทำบัญชีด้านความทันเวลา/ครบถ้วน ด้านความถูกต้องตามหลักการบัญชี และการปรับปรุงบัญชีตามนโยบายมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ข้อมูลประชากรศาสตร์ของเจ้าหน้าที่ที่จัดทำบัญชีระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างด้านประสบการณ์ทำงานและปัจจัยด้านทรัพยากรที่แตกต่างกันส่งผลให้ปัญหาที่เกิดจากการจัดทำบัญชีระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างของสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ ในกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

The purpose of individual study to find the factors affecting the performance of accrual basis accounting in service centers of the ministry of public health in Pathum Thani province. The population in this study was 86 government officer who keeps the accounts on accrual basis in the government service health centers in Pathum Thani. Questionnaires were used as a tool for the research and statistics used to analyze the data were the Percentage, Mean, Standard Deviation, Independent Sample t-test, One-Way ANOVA F-test and Scheffe test.

The result of the study showed the most of respondents were female at the age between 31 – 40 years old, married and their education level was lower than Bachelor’s degree that is not in accountancy. They had got more than 10 years of experience in the sub district health promotion hospitals with one bookkeeper and provide the average of health service from 10 to 50 clients per day. The most factors affecting of the individual study proposal was management factor. The other factors ranged from high to low level were accounting policy, human resource, facility/equipment and budget respectively. There was a small scale of problem about performing on time/completing, the accuracy of the account and the adjustment of account with policy.

The result of hypothesis test showed that demographic data of their experience and resource factors had affected to the account performing of accrual basis accounting in service centers of the ministry of public health in Pathum Thani province at significant level 0.05.

Download : ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดทำบัญชีระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างของผู้ทำบัญชีสถานบริการภาครัฐ ในกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี