Quality improvement in wire bond process using six sigma technique

โดย พโยม เหลือแก้ว

ปี 2555

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการเชื่อมลวดโดยใช้เทคนิคซิกซ์ ซิกม่าของการผลิตออสซิลเลเตอร์โดยมีเป้าหมายเพื่อลดของเสียที่เกิดจากปัญหาลวดไม่ได้ขนาดจาก 2,640 PPM ให้เหลือต่ากว่า 528 PPM หรือสามารถลดได้อย่างน้อย ร้อยละ 80 และต้องการปรับปรุงความสามารถของกระบวนการเชื่อมลวดในส่วนของการควบคุมขนาดบอนด์โดยมีเป้าหมายที่จะสามารถปรับค่าดัชนีความสามารถของกระบวนการ (Cpk หรือ Ppk) ให้สูงขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 50 ในการปรับปรุงอาศัยขั้นตอนของซิกซ์ ซิกม่าซึ่งเริ่มจากการระบุปัญหา การวิเคราะห์กระบวนการวัด และตามด้วยการวิเคราะห์หาสาเหตุซึ่งใช้การระดมสมองผ่านแผนภาพก้างปลาและการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (FMEA) พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อขนาดบอนด์คือ แรงเวลา กำลังและอุณหภูมิที่ใช้ในการเชื่อมลวด จากนั้นน่าปัจจัยที่ได้ไปทดสอบเพื่อหาว่าปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อขนาดบอนด์อย่างมีนัยส่าคัญทางสถิติ ผลการทดสอบพบว่า ปัจจัย แรง เวลาและกำลังเท่านั้นที่มีผลอย่างมีนัยส่าคัญ จากนั้นจึงทำขั้นตอนการปรับปรุงโดยการหาค่าของปัจจัยที่เหมาะสมโดยวิธีการออกแบบการทดลอง และได้ค่าที่เหมาะสมของปัจจัย แรง เวลา และกำลังเท่ากับ 42 กรัม 15มิลลิวินาทีและ 1.54 ไมครอน (62 ไมโครนิ้ว) ตามลำดับ แล้วนำค่าที่ได้ไปทดลองและปรับใช้จากการวิเคราะห์ผลหลังการปรับปรุงพบว่าในระยะยาวสามารถลดของเสียจากเดิม 2,640 PPM ให้เหลือเพียง 23.10 PPM หรือสามารถลดได้ ร้อยละ 99.21 และความสามารถของกระบวนการ (Cpk) เพิ่มจากเดิม 0.89 ขึ้นเป็น 1.38 หรือเพิ่มขึ้นได้ ร้อยละ 74.68

Download : Quality improvement in wire bond process using six sigma technique