Administrative factors affecting the effectiveness  the operational efficiency of compliance for child development centers under subdistrict administration organizations , Pathumthani province

โดย : ขวัญใจ   สุดรัก

ปี : 2553

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหารและประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี 3) ศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 68 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการกองการศึกษาฯ/หัวหน้าส่วนการศึกษาฯ/นักวิชาการศึกษา และครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 281 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและพัฒนาจากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา วิเคราะห์หาความเที่ยงโดยคำนวณ Cronbach’s Alpla โดยรวมเท่ากับ 0.986 และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์

ผลการศึกษาพบว่า

1.ระดับของปัจจัยการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี ตามทัศนะของนายก อบต. ผอ.กองการศึกษา/หน.ส่วนการศึกษา/นวช.ศึกษา และครูผู้ดูแลเด็ก ทั้ง 7 ด้าน พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีระดับการปฏิบัติในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยปัจจัยการบริหารด้านโครงสร้าง มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยการบริหารด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถ และปัจจัยการบริหารด้านรูปแบบการบริหาร ส่วนปัจจัยการบริหารด้านค่านิยมร่วม มีระดับการปฏิบัติน้อยที่สุด

2.ระดับของประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี ตามทัศนะของนายก อบต. ผอ.กองการศึกษา/หน.ส่วนการศึกษา/นวช.ศึกษา และครูผู้ดูแลเด็ก ทั้ง 4 ด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านปรากฏในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยด้านวิชาการกิจกรรมตามหลักสูตร มีประสิทธิผลมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านบุคลากรและการบริหาร ส่วนด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย มีประสิทธิผลน้อยที่สุด

3.ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี ตามทัศนะของนายก อบต. ผอ.กองการศึกษา/หน.ส่วนการศึกษา/นวช.ศึกษา และครูผู้ดูแลเด็ก โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันระดับสูงทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุด คือ ด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถ กับ ด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชน รองลงมาคือ ด้านค่านิยมร่วม กับ ด้านอาคารสถานที่ ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันต่ำสุด คือ ด้านระบบการปฏิบัติงาน กับ ด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชน

4.ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามทัศนะของนายก อบต. ผอ.กองการศึกษา/หน.ส่วนการศึกษา/นวช.ศึกษา และครูผู้ดูแลเด็ก โดยปัจจัยการบริหารทั้ง 7 ตัวแปร มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เรียงตามลำดับความสำคัญ คือ ด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถ ด้านค่านิยมร่วม และด้านกลยุทธ์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ 0.908 แสดงว่าปัจจัยการบริหารด้านด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถ ด้านค่านิยมร่วม และด้านกลยุทธ์ สามารถทำนายประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี ได้ร้อยละ 90.8

Download: ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี