Marketing communication factors that affected buying behavior on korean consmetics “Skin Food “

โดย ปิยมาภรณ์ คุ้มทรัพย์

ปี 2555

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอาง สกินฟู้ด ของประเทศเกาหลี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล และปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอาง สกินฟู้ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือเพศหญิงที่ซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สกินฟู้ด ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ทดสอบสมมติฐานคือ (Independent Samples t-test) (One-way ANOVA) และสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายเพียร์สัน (Pearson Correlation)

ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ อายุ 26–30 ปี สถานภาพสมรส หย่า ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดผู้บริโภคให้ความสำคัญในระดับมากที่สุด คือการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การตลาดทางตรง การขายโดยพนักงานขาย การจัดกิจกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อเครื่องสำอาง สกินฟู้ด 300บาท/ครั้ง ซื้อจำนวน 1 ชิ้น/ครั้ง นิยมซื้อผลิตภัณฑ์บา รุงผิวหน้า บุคคลที่มีอิทธิพล คือ ตนเอง และจะไม่ไม่เปลี่ยนไปเลือกซื้อเครื่องสำอางแบรนด์อื่นโดยจะนึกถึงเครื่องสำอาง สกินฟู้ด เป็นอันดับแรกเสมอ

การทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุ สถานภาพ อาชีพ ระดับรายที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการซื้อ เครื่องสำอาง สกินฟู้ด ที่แตกต่างกัน ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาด ได้แก่การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การตลาดทางตรง การส่งเสริมการขาย การขายโดยพนักงานขาย การตลาดโดยการบอกต่อ การจัดกิจกรรม มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอาง สกินฟู้ด

Download : Marketing communication factors that affected buying behavior on Korean consmetics “Skin Food “