Impact of lifestyle behavior on work efficiency of working age group in Bangkok area

โดย ลลิตา พูลทอง

ปี 2555

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตต่อประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มวัยทางานในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร โดยทาการศึกษากลุ่มวัยทำงานในเขตพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples t-test, One-way ANOVA และ Pearson Product Moment Correlation Coefficient

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 23 – 32 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท อาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัวการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดาเนินชีวิตที่มีผลต่อกลุ่มวัยทางานกับ ประสิทธิภาพการทำงานกลุ่มวัยทางานพบว่า เพศ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มวัยทำงานแตกต่างกัน พบว่า เพศชาย มีประสิทธิภาพมากกว่าเพศหญิง ระดับการศึกษาปริญญาเอกมีประสิทธิภาพสูงกว่าระดับการศึกษาในระดับรองลงมา ส่วนอายุที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มวัยทางานไม่แตกต่างกันการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของกลุ่มวัยทำงานกับประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มวัยทำงานพบว่า พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของกลุ่มวัยทำงานได้แก่ด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกาลังกาย ด้านการพักผ่อนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มวัยทำงาน ด้านความถูกต้องในการทำงาน ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำงาน ด้านการทำงานให้สำเร็จตามเวลาอยู่ในระดับปานกลาง

Download : Impact of lifestyle behavior on work efficiency of working age group in Bangkok area