Multiple dosages of superplasticizer and workability loss of mortar

โดย อัครวิชญ์ ณรงค์กูล, ปิติศาน กร้ำมาตร, เฉลิมชัย วิณิชย์ล้ำเลิศ, สมนึก ตั้งเติมสิริกุล

ปี 2554

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการใช้สารลดน้ำต่อพฤติกรรมการสูญเสียความสามารถในการทำงานของมอร์ต้าร์ ในการศึกษานี้ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 เป็นวัสดุประสานเพียงชนิดเดียว ใช้สารลดน้ำพิเศษประเภทแนพทาลีนเป็นสารเคมีผสมเพิ่ม และทรายธรรมชาติเป็นมวลระเอียด ความสามารถในการทำงานของมอร์ต้าร์พิจารณาความในการเปลี่ยนรูปของมอร์ต้าร์ซึ่งวัดจากพื้นที่การไหลแผ่ผ่านอุปกรณ์ mini slump cone และความหนืดของมอร์ต้าร์ซึ่งวัดจากความเร็วในการไหลผ่านอุปกรณ์ V-Funnel สำหรับสัดส่วนผสมของมอร์ต้าร์นั้นมีอัตราส่วนปริมาตรซีเมนต์เพสต่อช่วงว่างระหว่างมวลรวมในทุกสัดส่วนผสมคงที่เท่ากับ 1.6 และมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผสม โดยมีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน (w/c) ระหว่าง 0.27-0.41 และปริมาตรสารลดน้ำพิเศษต่อวัสดุประสานระหว่างร้อยละ 0.5-2.5 โดยมีการใส่ลดน้ำหนักพิเศษ 2 รูปแบบคือ ใส่ครั้งเดียวตั้งแต่ต้น และใส่หลายครั้งที่เวลาต่างกันการสูญเสียความสามารถในการทำงานวัดจากความสามารถในการทำงานตั้งต้นและวัดต่อเนื่องทุก ครึ่งชั่วโมงไปจนกระทั่ง 2 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่า กรณีใส่สารลดน้ำพิเศษครั้งเดียวเปรียบเทียบมอร์ต้าร์ที่มีพื้นที่การแผ่ตั้งต้นเท่ากัน มอร์ต้าร์ที่ใช้สารลดน้ำพิเศษมากกว่าจะมีความหนืดสูงกว่า และสูญเสียความสามารถในการเปลี่ยนรูปช้ากว่า กรณีที่ต้องการใช้งานมอร์ต้าร์เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น รูปแบบการแบ่งเติมลดน้ำพิเศษหลายครั้ง จะทำให้มอร์ต้าร์ที่มีความสามารถในการทำงานดีกว่ารูปแบบการเติมสารลดน้ำพิเศษเพียงครั้งเดียว

This research is aimed to study the effect of mode of superplasticizer introduction on workability loss behavior of fresh mortar. Ordinary Portland cement type I was used as the only binder in this study. Natural sand was used as the fine aggregate. Napthelene based superplasticizer (SP) was used as the chemical admixture. The workability of mortar is the combination between deformability and viscosity. Deformability of mortar was measured by area of mortar flow spread after the mini slump cone removal, while viscosity of mortar was measured by outlet flow time through the v-funnel. Mix proportion of mortar was designed by fixing the amount of paste and aggregate (volume of paste/void content equals to 1.6), varying water to binder ratio between 0.27-0.41, and varying superplasticizer dosage between 0.5%-2.5%. The mode of SP introduction was divided into 2 patterns; one single dosage at the beginning and multiple dosages at many elapsed times. The workability loss was considered from the initial workability of mortar at the time just after mixing and that of every 30 minutes until 2 hours after mixing. The test results were compared for the effect of SP admixing patterns on workability loss of mortar. In case of single dosage, it was found that for a certain flow spread, the mortar mixture with higher SP dosage had higher viscosity and slower workability loss. In case of long elapsed time, the mortar with multiple dosages provided better workability than the mortar with a single dosage.

Download : Multiple dosages of superplasticizer and workability loss of mortar