Application of Geographic Information System for Fluoride Mapping in Tak Province, Thailand

โดย นฤมล กูลศิริศรีตระกูล

วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 10ฉบับที่ 2 เดือนมกราคม – เมษายน 2550

บทคัดย่อ(Abstract)

การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำแผนที่ฟลูออไรด์จังหวัดตาก โดยใช้ข้อมูลปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคซึ่งเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่  มาสร้างฐานข้อมูลระบบสารสนเทศ กำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการได้รับฟลูออไรด์ปริมาณสูงในจังหวัดตาก ในภาพรวมและรายอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ Arc View GIS Version 3.2 โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล Microsoft Excel 97 โปรแกรมวิเคราะห์ด้านสถิติ SPSS Version 11.0 และ เครื่องมือตรวจวัดค่าปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำ  ตามวิธี SPANS ในการศึกษานี้ ได้แบ่ง ระดับความเสี่ยงต่อการได้รับฟลูออไรด์ เป็น 5 ระดับ ตามเกณฑ์ประเมินปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคของศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ พบว่า เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย และเกณฑ์มากกว่า 0.60 ppm. หรือ ความเสี่ยงระดับ 4 ขึ้นไป ที่มักทำให้เกิดภาวะฟันตกกระได้ทั้งในระดับน่าสงสัย ระดับน้อย และระดับรุนแรงแล้ว ค่าเฉลี่ยปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ทั้งจังหวัดมีค่าน้อยกว่า 0.60 ppm. พิจารณารายอำเภอพบว่า อำเภอสามเงา และอำเภอบ้านตาก มีค่าเฉลี่ยปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคมากกว่า 0.60 ppm. พิจารณาจากค่าเฉลี่ยปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคตามแหล่งน้ำ พบว่า น้ำบ่อและน้ำบาดาลมีค่าเฉลี่ยฟลูออไรด์มากกว่า 0.6 ppm. เมื่อกำหนดตำแหน่งพื้นที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคระดับ 4 (0.61 -1.20 ppm.) และ ระดับ 5 (1.20 ppm.) พบว่า อำเภอเมื่อตาก มีตำแหน่งที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ระดับ 4 และระดับ 5 จำนวน 2 และ 4ตำแหน่ง อำเภอสามเงามีตำแหน่งที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ระดับ 4 และระดับ 5 จำนวน 2 ตำแหน่งเท่ากันส่วนอำเภอบ้านตาก มีตำแหน่งที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ระดับ 4 และระดับ 5 จำนวน 2และ 1 ตำแหน่ง ส่วนอำเภออื่นๆนั้นไม่มีตำแหน่งที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ทั้งระดับ 4 และ 5 สำหรับในภาพรวมจังหวัดตาก มีตำแหน่งที่มีปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ระดับ 4 และระดับ 5 จำนวน 6 และ 7 ตำแหน่ง ตามลำดับ

Download : Application of Geographic Information System for Fluoride Mapping in Tak Province, Thailand