Isolation of actionmycetes from animal waste for agricultural materials degradation

โดย จามจุรี เกตุบัวขาว, ณิชาภา ชมภู และ สุพัตรา ชาวสวน

ปี 2555

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกแอคติโนมัยซีทจากมูลสัตว์เบื้องต้นและทดสอบการสร้างเอนไซม์เซลลูเลสบนอาหาร Carboxymethyl cellulose Agar สามารถคัดแยกแอคติโนมัยซีทได้ทั้งหมด 6 ไอโซเลต คือ JJN-1255, JJN-1300, JJN-1500, JJN-1501, JJN-1816 และ JJN-1700    โดย JJN-1501 มีอัตราส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางของบริเวณใสต่อโคโลนีสูงที่สุดเท่ากับ 6.2 เซนติเมตร รองลงมาคือ JJN-1500, JJN-1816 และ JJN-1255 โดยมีอัตราส่วนเท่ากับ 5.3, 3.2 และ 1.7  เซนติเมตร ตามลำดับ ส่วน JJN-1300, JJN-1700 ไม่สามารถสร้างบริเวณใสได้ การศึกษากิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลสของแอคติโนมัยซีทที่เพาะเลี้ยงใน 0.5 % Carboxymethyl cellulose Broth พบว่า JJN-1501 มีกิจกรรมของเอนไซม์สูงสุด ในวันที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.217 U/ml. รองลงมา คือ JJN-1255, JJN-1500 และ JJN-1816  มีกิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลสเท่ากับ 0.165 U/ml., 0.156 U/ml. และ 0.151 U/ml. ในวันที่ 5 ตามลำดับ เมื่อนำแอคติโนมัยซีทที่มีความสามารถในการสร้างเอนไซม์เซลลูเลสทั้ง 4 ไอโซเลต มาเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 37, 45, 55, 60 และ 65 องศาเซลเซียส พบว่า JJN-1501 เจริญได้ที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส ส่วน JJN-1500, JJN-1255 และ JJN-1816 สามารถเจริญได้ที่อุณหภูมิสูง 45 องศาเซลเซียส สำหรับผลการทดสอบประสิทธิภาพการย่อยวัสดุทางการเกษตรพบว่า ในชุดทดลองที่ 3 คือ วัสดุทางการเกษตรที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อและเติมแอคติ-โนมัยซีทที่มีกิจกรรมของเอนไซม์สูงที่สุด คือ JJN-1501 มีประสิทธิภาพการย่อยสลายสูงที่สุดโดยน้ำหนักของวัสดุทางการเกษตรลดลงจาก 2 กิโลกรัม เหลือ 0.9 กิโลกรัม หลังทำการทดลองเป็นเวลา  28 วัน ระหว่างการย่อยสลายตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่างได้ในช่วง 6.29-7.77 อุณหภูมิอยู่ในช่วง 31-42 องศาเซลเซียส ความชื้นอยู่ในช่วง 58-89 % และการเจริญของแอคติโนมัยซีทระหว่างการย่อยสลายวัสดุทางการเกษตรตรวจพบได้มากที่สุดในช่วงสัปดาห์ที่ 3-4 ของการทดลอง

Download : Isolation of actionmycetes from animal waste for agricultural materials degradation