โดย วิเชียร เถื่อนเครือวัลย์

วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคล, ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 (ม.ค. – มิ.ย. 2548), หน้า 22-26. 

บทคัดย่อ

ในการศึกษาทดลองครั้งนี้เป็นการทดลองเปรียบเทียบ วิธีของกระบวนการผลิตชิ้นงาน สลักปลดชิ้น (Ejecter Pin) ที่ใช้กับงานแม่พิมพ์พลาสติก และแม่พิมพ์โลหะ (Mould & Die) โดยใช้เครื่องเจียระไนกลมแบบธรรมดา และแบบ CNC ทำการเปรียบเทียบกับกระบวนการกลึงด้วยเครื่องกลึง CNC เฉพาะขั้นตอนสุดท้าย (ผิวสำเร็จ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตผิวสำเร็จซึงเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำไปใช้งานจริงเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแง่ของ ระยะเวลาการส่งสินค้า โดยมีวิธีการทดลองดังนี้ (1) นำขิ้นงานที่ผ่านการชุบแข็ง (Hardening Surface) ความแข็งผิว 55-60 HRC ชนิดตัวอย่างงานทดลอง 5 แบบ (A, B, C, D, C, และ E) แบบละ 10 ตัวอย่างขนาดเผื่อเก็บผิวสำเร็จเท่ากับ 0.4 มิลลิเมตร, (2) นำมาผ่านกระบวนการเจียระไนทั้ง 2 ชนิด (ธรรมดา และ CNC), (3) นำมาผ่านกระบวนการกลึงด้วยเครื่องกลึง CNC, และ (4) วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการศึกษาทดลองทั้ง 3 วิธี ในเชิงของปริมาณการเพิ่มผลผลิต (Productivity) ระยะเวลาการผลิต 1 วัน (8 ชั่วโมงทำงาน)

ผลที่ได้จากการศึกษาทดลองพบว่ากระบวนการผลิตชิ้นงาน สลักปลดชิ้นงานเฉพาะขั้นตอนผิวสำเร็จ ที่ผลิตโดยกระบวนการผลิตด้วยเครื่องกลึง CNC มีปริมาณการเพิ่มผลผลิตเป็นดังนี้ (1) เข็มกระทุ้งแบบ A เพิ่มขี้น  72.79%, (2) แบบ B เพิ่มขึ้น 72.12%,  (3) แบบ C เพิ่มขี้น 65.72%, (4) แบบ D เพิ่มขึ้น 68.35%, และ (5) แบบ E เพิ่มขี้น 63.00%

Download : การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการผลิตผิวสำเร็จ ของชิ้นงานเข็มกระทุ้งด้วยเครื่องกลึง CNC กับเครื่องเจียรไน