By สกานต์ เหลืองเกรียงไกร, เชาว์ อินทร์ประสิทธิ์ และ พรทิพย์ ศิริสุนทราลักษณ์

Year 2013

The 14th TSAE National Conference and the 6th TSAE International Conference : TSAE 2013. p.192-197

 

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตเอทานอลจากมันเส้นบดด้วยกระบวนการย่อยเป็นน้ำตาลและหมักพร้อมกัน (Simultaneous Saccharification and Fermentation, SSF) แบบย่อยน้ำตาลก่อนการหมัก (Pre-Saccharification) ด้วยเอนไซม์ GC147 และเติมอากาศระหว่างการหมักด้วยปริมาณอากาศในอัตรา 5 ลิตรต่อนาที และที่ระยะเวลาในการเติมอากาศที่แตกต่างกัน 3 แบบ ได้แก่ แบบไม่เติมอากาศ (การหมักแบบปกติ) แบบเติมอากาศตลอดการหมัก (0-72 ชั่วโมง) และแบบเติมอากาศในช่วงแรกของการหมัก (0-12 ชั่วโมง) โดยใช้ถังหมักขนาด 60 ลิตร และความเข้มข้นของเส้นมันบด 25% โดยน้ำหนัก พบว่า สภาวะการผลิตเอทานอลที่เหมาะสมที่สุด คือ การหมักแบบเติมอากาศช่วงแรกของการหมัก (0-12 ชั่วโมง) เพราะสามารถลดระยะเวลาการหมักลง 6 ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับการหมักแบบปกติ โดยให้ปริมาณเอทานอลใกล้เคียงกัน สำหรับการหมักแบบเติมอากาศตลอดการหมัก แม้จะให้เอทานอลเร็วเท่ากับการหมักแบบเติมอากาศช่วงแรกของการหมัก แต่ให้ปริมาณเอทานอลต่ำกว่าการหมักแบบอื่น แสดงให้เห็นว่าการเติมอากาศในปริมาณที่เหมาะสม และถูกเวลา จะช่วยลดระยะเวลาผลิตเอทานอลจากมันเส้นบดด้วยกระบวนการ SSF และให้ปริมาณเอทานอลใกล้เคียงกับการหมักแบบปกติ

Download: การผลิตเอทานอลจากมันเส้นบดด้วยกระบวนการย่อยเป็นน้ำตาลและหมักพร้อมกันแบบย่อยน้ำตาลก่อนการหมักและเติมอากาศระหว่างการหมัก