By ยุทธนา เครือหาญชาญพงค์, สุภาษิต เสงี่ยมพงศ์, อานนท์ สายคำฟู, พงษ์ศักดิ์ ต่ายก้อนทอง และ อัคคพล เสนาณรงค์

Year 2013

The 14th TSAE National Conference and the 6th TSAE International Conference : TSAE 2013. p.271-277

 

Abstract

จากปัญหาการเกิดอ้อยไฟไหม้ในอ้อยตอ จึงได้มีการออกแบบจอบหมุนสำหรับทำงานสับกลบใบอ้อยติดพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ โดยใช้รถแทรกเตอร์ขนาด 24 แรงม้า ที่มีล้อหลังแคบ สามารถวิ่งเข้าทำงานในร่องอ้อยได้ มีระยะห่างระหว่างล้อ 130 เซนติเมตร (ระยะห่างร่องอ้อย 160 เซนติเมตร) จอบหมุนสามารถใช้สับกลบอ้อยและกำจัดวัชพืชได้ จอบหมุนมีหน้ากว้างในการทำงาน 80 เซนติเมตร ต่อพ่วงกับรถแทรกเตอร์แบบพ่วง 3 จุด ใช้เกียร์ทดรับกำลังจากเพลาอำนวยกำลังขนาด 40 แรงม้า ถ่ายทอดกำลังจากห้องเกียร์ผ่านเฟืองโซ่ไปยังเพลาจอบหมุนเพื่อให้ได้ความเร็วรอบประมาณ 336 รอบต่อนาที เพลาจอบหมุนมีจานยึดใบจอบหมุน 4 จาน แต่ละจานมีใบจอบหมุนแบบ L ผสม C 6 ใบ รวม 24 ใบ ชุดใบจอบหมุนเรียงกันเป็นเกลียวเพื่อไม่ให้กระทบดินพร้อมกัน เพื่อให้ใช้กำลังในการทำงานน้อยที่สุด ในการทดสอบสับกลบใบอ้อยที่จังหวัดกาญจนบุรีพบว่า ที่ความชื้นดินเฉลี่ย (มาตรฐานแห้ง) ร้อยละ 11.47 ความยาวใบอ้อยก่อนการสับกลบ 15 เซนติเมตร ความสามารถในการทำงาน 1.95 ไร่ต่อชั่วโมง ประสิทธิภาพการทำงานร้อยละ 91.98 ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 1.58 ลิตรต่อไร่ สำหรับการใช้จอบหมุนในการกำจัดวัชพืช ทดสอบในแปลงจังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ที่ความชื้นดินเฉลี่ย (มาตรฐานแห้ง) ร้อยละ 12.56 ปริมาณวัชพืชก่อนการสับกลบ 780 กิโลกรัมต่อไร่ ความสามารถในการทำงาน 1.98 ไร่ต่อชั่วโมง ประสิทธิภาพการทำงานร้อยละ 96.12 ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 1.35 ลิตรต่อไร่ น้ำหนักวัชพืชหลังการกำจัด 19.04 กิโลกรัมต่อไร่ ประสิทธิภาพการกำจัดวัชพืช 97.55

Download : จอบหมุนสับกลบใบอ้อยและกำจัดวัชพืชสำหรับรถแทรกเตอร์ 24 แรงม้า