Development of accessories from Ya-Nang stalk (tiliacora triandra (colebr) diels)

โดย เหมวรรณ มีเชาว์

ปี 2556

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกลของเถาย่านาง ศึกษากระบวนการฟอกขาวเถาย่านาง พัฒนาผลิตภัณฑ์งานถักเป็นเครื่องประดับ สร้อยคอ ต่างหู แหวน สร้อยข้อมือเถาย่านาง และศึกษาความความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์

วิธีการวิจัยคือ ศึกษาสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกลของเถาย่านางโดยศึกษาข้อมูลจากหนังสือเอกสารงานวิจัย และส่องกล้องเถาย่านางเพื่อดูภาพตัดขวาง และภาพตัดตามแนวยาวด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง Phase Contrast Microscopes ศึกษากระบวนการฟอกขาวของเถาย่านาง ทดสอบสมบัติความต้านแรงดึงขาดของเถาย่านาง และศึกษาความความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ด้วยค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน

ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทางกายภาพภาคตัดตามขวางและตามยาวเถาย่านาง พบกลุ่มท่อน้ำท่ออาหารเรียงตัวเป็นวงกลม สมบัติเชิงกลของเถาย่านางหลังกระบวนการฟอกขาว สูตรที่ 1 ถึงสูตรที่ 8 พบว่าสูตรที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของความต้านแรงดึง (Tensile Testing Machine) ที่ระดับ 186.68 N และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 31.46 เป็นค่าที่ดีที่สุด สำหรับค่าเฉลี่ยการยืดตัวขณะขาด (Elongation at Break) พบว่าสูตรที่ 7 ให้ค่าเฉลี่ยที่ระดับ 27.47% และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.06 เป็นค่าที่ดีที่สุด สรุปว่ากระบวนการฟอกขาวส่งผลต่อสมบัติเชิงกลของเถาย่านาง แต่เนื่องจากการใช้งานผลของความขาวเป็นสิ่งสำคัญจึงเลือกสูตรที่ 4 ซึ่งใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ 50 เปอร์เซ็นต์ (NaOH 50%) ที่ 50 กรัม/ลิตร ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ที่ 70 กรัม/ลิตร และโซเดียมซิลิเกต (Na2Si3O7) ที่ 4 กรัม/ลิตร แช่ที่อุณหภูมิ 30 ◦C เป็นเวลา 18 ชั่วโมง วิเคราะห์ระดับความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากเถาย่านางพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x=3.75) เมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่า ความเหมาะสมในการผสมผสานรูปแบบเครื่องประดับกับวัสดุอื่น ๆ ได้อย่างผสมกลมกลืนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( x =4.08) รองลงมาคือรูปแบบชิ้นงาน ( x = 4.07) ความพึงพอใจ โดยรวม ( x = 4.06) ความเหมาะสมของลายถัก ( x = 3.94) ความคิดสร้างสรรค์ ( x = 3.91) เถาย่านางเหมาะสมกับงานถักเครื่องประดับ ( x =3.78) มีเอกลักษณ์น่าสนใจ ( x =3.74) ใช้งานได้จริง ( x = 3.72) ความสวยงามของการจัดองค์ประกอบในตัวเรือน สร้อยคอ ต่างหู แหวน สร้อยข้อมือ ( x = 3.71) ความสวยงาม ( x = 3.53) ลวดลายที่ถักมีความทันสมัย ( x = 3.52) ออกแบบทันสมัย ( x = 3.37) และความประณีตของชิ้นงาน ( x =3.28)

This research was aimed to study the physical and mechanical properties of Ya-Nang stalk and its bleach process, to develop handmade woven crafts (i.e. necklaces, earrings, rings and bracelets) with Ya-Nang stalk and beads, and to study customers’ satisfaction with all products.

The physical and mechanical properties of Ya-Nang stalk were studied from research documents while the cross and longitudinal sections of Ya-Nang stalk were studied by means of Phase Contrast Microscopes. The study included the bleach process and testing of the tensile strength of Ya-Nang stalk. Data about the customers’ satisfaction with all products were collected from 100 customers by means of random sampling and statistically analyzed in terms of percentage, mean and standard deviation.

Concerning the physical properties, it was found that through the cross and longitudinal sections of Ya-Nang stalk, the water and nutrients in the plant’s vascular system were thoroughly arranged in a circular shape. In relation to its mechanical properties after the bleach process by Formulas 1 – 8, it was found that from Formula 1, the best result was that the average of the tensile strength was at 186.68 N and the standard deviation was 31.46 while the best result of Formula 7 was that the average was 27.47% and the standard deviation was 0.06. It was also found that the bleach process affected the mechanical properties of Ya-Nang stalk. Since the bleach process result was important, Formula 4 was selected – consisting of 50% of NaOH at 50gm/l, H2O2 at 70gm/l, and Na2Si3O7 at 4gm/l kept at the temperature of 30 ◦C for 18 hours. From the analysis of the customers’ satisfaction of all products, it was found that the satisfaction was at the high level ( x =3.75) and the satisfaction in relation to individual features were that the satisfaction with the combination of the ornaments with other materials was at the high level ( x =4.08), followed by the styles ( x = 4.07), the overall aspects ( x = 4.06), the weaving patternห ( x = 3.94), creative ideas ( x = 3.91), the suitability of Ya-Nang stalk for woven crafts ( x =3.78), interesting uniqueness ( x =3.74), utility ( x = 3.72), beauty of the composition of all items ( x = 3.71), beauty( x = 3.53), modern patterns ( x = 3.52), modern designs ( x = 3.37), and work delicacy ( x =3.28)

 

 

Download : การพัฒนาเครื่องประดับจากเถาย่านาง