Relationship between Supportive Leadership Behavior and Employee Engagement of Thai Aviation Industries Company Limited

โดย ศิวตา กล่อมสุข

ปี 2556

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยของพฤติกรรมผู้นำแบบสนับสนุนและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด  2) ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด และ 3) ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้นำแบบสนับสนุนกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานโดยสถิติ Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, LSD และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 25-35 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกัน อัตราเงินเดือน 10,001-20,000 บาท และมีประสบการณ์ทำงาน 5 ปีขึ้นไป ระดับปัจจัยของพฤติกรรมผู้นำแบบสนับสนุนและความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมาก ความแตกต่างของช่วงอายุและอัตราเงินเดือนของพนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และยังพบว่า พฤติกรรมผู้นำแบบสนับสนุนกับความผูกพันต่อองค์กรมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.355 มีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกอยู่ในระดับน้อยอย่งมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ 0.01

The objectives of the study were 1) to investigate the level of supportive leadership behavior and the employee engagement of Thai Aviation Industries Company Limited, 2) to examine the employee individual factors that affected the employee engagement of Thai Aviation Industries Company Limited, and 3) to find out the relationship between the supportive leadership behavior and the employee engagement of Thai Aviation Industries Company Limited. The questionnaire was used as the data gathering tool. The data were analyzed using descriptive statistics which comprised Percentage, Mean, Standard Deviation, as well as inferential statistics which included Independent Samples t-test, One-way ANOVA, Least Significant Difference, and Pearson Correlation Coefficient at 0.05 level of significance.

The results of the study showed that the majority of the respondents were male, aged between 25-35 years old, graduated with Bachelor’s degree, were married / cohabiting, earned a salary of 10,001-20,000 Baht, and had more than 5 years of work experience. The level of factors of the supportive leadership behavior and the employee engagement was found at a high level. Different age and level of salary had different effects on the employee engagement with a correlation of 0.355, and had a low level of positive relationship at 0.01 level of significance.

 

Download : ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำแบบสนับสนุนกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด