A Loss Reduction of Fin Welding Process by Using the Analysis of Overall Equipment Effective Technique: A Case Study of Motor Frame Manufacturing

โดย เกียรติบัลลังก์ คิดหมาย

ปี 2556

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเสียและลดค่าใช้จ่ายความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการขัดข้องของเครื่องเชื่อมครีบระบายความร้อนในกระบวนการผลิตเฟรมของโรงงานผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่เป็นคอขวดและทำหน้าที่เฉพาะการเชื่อมครีบระบายความร้อนเท่านั้น ซึ่งไม่มีเครื่องจักรเครื่องอื่นที่สามารถทำการผลิตทดแทนได้ ซึ่งการขัดข้องที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าทั้งหมด

ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยได้นำเทคนิคการวิเคราะห์ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการวิเคราะห์แบบ Why-Why แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) จัดตั้งทีมงานปรับปรุงกลุ่มย่อย โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วม การกำหนดสมาชิกกลุ่มประกอบด้วย ฝ่ายสนับสนุนการผลิต ฝ่ายผลิต และฝ่ายซ่อมบำรุง 2) การฝึกอบรม 3) การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการวิเคราะห์ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรและใช้พาเรโตไดอะแกรมคัดเลือกปัญหาที่จะนำมาทำการแก้ไขปรับปรุง 4) การวิเคราะห์หาสาเหตุ และกำหนดแนวทางการแก้ไขโดยใช้การวิเคราะห์แบบ Why-Why 5) ดำเนินการแก้ไข 6) วัดผลจากค่าวิเคราะห์ประสิทธิผลโดยรวมก่อนและหลังการปรับปรุง

จากการแก้ไขการขัดข้องและกำหนดให้ทำการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักรประจำวัน ทำให้เกิดการขัดข้องลดลงส่งผลทำให้ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องเชื่อมครีบระบายความร้อน โดยเฉลี่ยมีค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 77.88 เป็นร้อยละ 82.82 คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 4.94 ค่าใช้จ่ายความสูญเสียเฉลี่ยลดลงจากเดิม 198,667 บาทต่อเดือน เป็น 137,939.60 บาทต่อเดือน ลดลงเท่ากับ 60,727 บาทต่อเดือน

This research aims to reduce the losses and the cost of wastage occurred according to the failure of fin welding machine in the process of frame production at the electric motor factory. This machine is a specific for the fin welding only and there is no substitute machine thus it is identified as a bottleneck. These failures directly impact the whole processes of electric motor production.

The research methodology applied the analysis of overall equipment effective (OEE) technique and the why-why analysis technique which was divided into 6 stages: 1) establishing small group with the concept of participation. The group membership consists of support production section, production and maintenance section, 2) Training, 3) investigating the current situation and the occurred problem by using the analysis of overall equipment effectiveness technique and then Pareto diagrams is used to classify the problem for improvement, 4) analyzing the root causes and identifying the solutions by using the why-why analysis, 5) implementing with corrective action, 6) monitoring and measuring with the OEE indicator before and after the improvement.

After improvement with the corrective action and daily maintenance, the failure rate is reduced that leads to the average OEE value of the fin welding machine increases from 77.88% to 82.82%. Then the percentage of improvement equals to 4.94%. The average cost of losses decreased from 198,667.00 baht per month to 137,939.60 baht per month which reducing by 60,727 baht per month.

 

Download : การลดความสูญเสียของขั้นตอนการเชื่อมครีบระบายความร้อนโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร กรณีศึกษา การผลิตมอเตอร์เฟรม