Efficacy of Stingless Bee as Insect Pollinators of Rambutan var. Sri Thong

โดย สมศักดิ์ บุญไทย

ปี 2556

บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของแมลงผสมเกสรเงาะพันธุ์สีทองและศึกษาประสิทธิภาพของชันโรงในการเป็นแมลงช่วยผสมเกสรเงาะพันธุ์สีทองโดยดำเนินการทดลองที่สวนเงาะพันธุ์สีทอง ตำบลวังแซ้ม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี การศึกษาความหลากหลายของแมลงผสมเกสรเงาะพันธุ์สีทองดำเนินการโดยเลือกต้นที่สมบูรณ์มีอายุเท่ากัน และมีขนาดความสูงไม่เกิน 3 เมตร จำนวน 5 ต้น ติดป้ายช่อดอกนับจำนวนแมลงที่ลงมาตอมดอกเงาะที่เลือกช่อดอกไว้ทั้ง 5 ช่อต่อต้น เริ่มนับจำนวนแมลงที่ลงตอมช่อดอกเงาะเวลา 06.00 น. – 17.00 น. ทุกๆ ชั่วโมง ชั่วโมงละ 10 นาที ตั้งแต่วันที่ 1 – 5 มกราคม พ.ศ. 2557 จำแนกชนิดแมลงที่ลงตอมช่อดอกในแต่ละวันจดบันทึกข้อมูลทั้งหมด การศึกษาประสิทธิภาพของชันโรงในการเป็นแมลงช่วยผสมเกสรในเงาะพันธุ์สีทองทำการทดลองโดยเลือกต้นที่สมบูรณ์มีอายุเท่ากัน และขนาดสูงไม่เกิน 3 เมตร จานวน 12 ต้น เลือกช่อดอก มีขนาดเท่ากันจำนวน 15 ช่อต่อต้น ติดป้ายที่ช่อดอก วาง แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) มี 3 ซ้ำ 4 สิ่งทดลองดังนี้ แบบผสมเปิดปล่อยให้แมลงผสมเกสรในธรรมชาติช่วยผสมเกสร แบบผสมปิดคลุมถุงตาข่ายป้องกันไม่ให้แมลงชนิดใดเข้าผสมเกสรใช้ชันโรง Tetragonula laeviceps 1 รัง ต่อต้น และใช้ชันโรง T. fuscobalteata 1 รัง ต่อต้น

ผลการศึกษาความหลากหลายของแมลงผสมเกสรเงาะพันธุ์สีทอง พบว่า ชันโรงลงตอมช่อดอกเงาะมากกว่าแมลงชนิดอื่น ซึ่งพบชันโรงลงตอมช่อดอกระหว่างเวลา 08.00 น. – 17.00 น.โดยไม่พบในช่วงเวลา 06.00 น. – 07.00 น. พบชันโรงจำนวนมากที่สุดเวลา 11.00 น. และ 13.00 น. รองลงมาคือ เวลา 14.00 น. และ 12.00 น. ตามลำดับ แมลงชนิดอื่นที่พบลงตอมช่อดอกเงาะ ได้แก่ แมลงวันทอง ผีเสื้อ ต่อ และแมลงภู่ โดยพบในจำนวนที่น้อยมาก ผลการศึกษาประสิทธิภาพของชันโรง T. laeviceps และ T. fuscobalteata ในการเป็นแมลงผสมเกสรเงาะพันธุ์สีทองโดยเปรียบเทียบกับการปล่อยให้มีแมลงผสมเกสรในธรรมชาติ และการปิดไม่ให้มีแมลงผสมเกสร ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม-เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 ผลการทดลองพบว่า จำนวนผลทั้งหมดต่อช่อ จำนวนผลสมบูรณ์ จำนวนผลไม่สมบูรณ์ จำนวนผลขี้ครอก น้ำหนักต่อผล น้ำหนักต่อ 15ช่อ ความหวานของเนื้อ ความกว้างของผลและความยาวของผลของแต่ละสิ่งทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ มีเฉพาะความหนาของเนื้อที่มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เนื่องจาก ผลขี้ครอกที่เกิดขึ้นในสิ่งทดลองที่ป้องกันไม่ให้แมลงผสมเกสรไม่มีส่วนของเนื้อผล เมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถในการผสมเกสรของชันโรงทั้ง 2 ชนิดพบว่า ชันโรง T. fuscobalteata ช่วยให้เกิดการติดผลมากกว่าชันโรง T. laeviceps

จากการศึกษาสรุปได้ว่า ชันโรงเป็นแมลงที่ลงตอมดอกเงาะพันธุ์สีทองมากที่สุด และเป็นแมลงผสมเกสรให้แก่เงาะที่มีประสิทธิภาพ โดยพบว่า ชันโรง T. fuscobalteata มีความสามารถในการผสมเกสรแก่เงาะได้ดีกว่า T. laeviceps

This research was aimed to study the efficacy of stingless bee as insect pollinator of rambutan var. Sri Thong. The studies done at rambutan orchard in Tambon Wang-cham Amphor Makam Chantaburi province. The research was divided in to 2 experiments as follow: Diversity study of insects visiting inflorescences of rambutan var. Sri Thong was conducted in order to find optimum insect to be use as insect pollinator. Species and numbers of insect visited on inflorescences was observed every 10 minutes from 6.00 a.m. to 5.00 p.m. on 5 inflorescences in each tree for 5 trees. Observation was done for 5 days in January 2014. Efficacy of stingless bee T. laeviceps and T. fuscobalteata as insect pollinator of rambutan var. Sri Thong compare with opened and closed pollinator were conducted with 3 replication during January to June 2014. Experimental design was Completely Randomized Design.

The result of diversity study of insect visiting on rambutan inflorescences revealed that stingless bee was found more than other insects. Visiting time of stingless bee was between 8.00 a.m. – 5.00 p.m. Stingless bee was not found during 6.00 a.m. – 7.00 a.m. Highest number of stingless bee was found at 11.00 a.m. and 1.00 p.m. Lower number was found at 2.00 p.m. and 12.00 a.m. respectively. Another insects found on inflorescences of rambutan were fruit fly, butterfly, wasp and carpenter bee which found in a few number. The results of pollination efficacy of stingless bee as insect pollinators revealed that no significant at 95% between all parameters such as numbers of fruit set per inflorescences, numbers of compleat fruit, abnormal fruit, abortive fruit, Total soluble solid (Brix) of fruit pulp, width and length of fruit of each treatment. Only pulp thickness showed highly significant between treatment because there was no pulp in abortive fruit which found in closed pollination treatment. Stinglees bee Tetragonula fuscubalteata showed higher efficacy as insect pollinator for rambutan var. Sri Thong than T. laeviceps.

It can be concluded that stingless bee visited the rambutan inflorescences at the highest numbers and has the high efficacy as insect pollinators of rambutan var. sri thong. More over T. fuscobalteata showed the higher pollination efficacy than T. laeviceps.

 

Download : ประสิทธิภาพของชันโรงในการเป็นแมลงผสมเกสรเงาะพันธุ์สีทอง