Perceived Organizational Support Affecting Job Performance of Employees in Banking Business

โดย ศศินันท์ ทิพย์โอสถ

ปี 2556

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การความพอใจในงานและการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มธนาคาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นพนักงานธนาคารในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 812 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ค่าสถิติพื้นฐานร้อยละศึกษาจำนวนค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติ Independent Samples t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน One-way ANOVA และทำการเปรียบเทียบเชิงซ้อน ด้วยวิธี LSD ใช้โมเดลการวิเคราะห์เส้นทาง Path Analysis และทาการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM)

ผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของตัวแปร ด้านปัจจัยจูงใจมีอิทธิพลทางบวกโดยตรงต่อการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ด้วยค่าสัมประสิทธิ์เชิงวิถี (Path Coefficient) เท่ากับ 0.839 ด้านการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลทางลบต่อความพอใจในงาน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์เชิงวิถี (Path Coefficient) เท่ากับ 0.232 ด้านความพอใจในงานมีอิทธิพลทางบวกโดยตรงต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน(Path Coefficient) เท่ากับ 0.232 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าดัชนีทดสอบโมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของด้านความเกี่ยวข้องของตัวแปร พบว่า โมเดลมีความเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ของตัวแปรด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน มีค่าเท่ากับ 0.743 แสดงว่าตัวแปรด้านปัจจัยจูงใจด้านการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และด้านความพอใจในการทำงาน สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 74.30

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานมีผลต่อการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความพอใจในงานแตกต่างกัน โดยพนักงานธนาคารไทยที่เป็นของรัฐกับพนักงานธนาคารไทยที่มีต่างชาติถือหุ้นที่ปฏิบัติงานสายหลักกับสายสนับสนุน มีการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความพอใจในงาน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน

The purpose of this thesis was to study perceived organizational support, job satisfaction, and job performance of employees in banking business. The samples were 812 bank employees in Bangkok. The statistics used for data analysis included Frequency, Mean, Standard Deviation, Independent Samples t-test, and One-Way ANOVA. Least Significance Difference (LSD) was applied for multiple comparisons. Path Analysis and Structural Equation Model (SEM) were used for data analysis.

The results revealed that the Linear Structural Relationship in terms of motivation factor had a positive direct effect on perceived organizational support with path coefficient of 0.839 whereas perceived organizational support negatively influenced job satisfaction with path coefficient of 0.232, and job satisfaction had a positive direct effect on job performance with path coefficient of 0.232 at significance level of 0.01. The results showed that the causal relationship model is valid and well fitted to empirical data. Due to performance efficiency, the Coefficient of Determination is 0.743 indicating that motivation factor, perceived organizational support, and job satisfaction together described total variance of job performance which was accounted for 74.30 percent of total variance.

The results of hypothesis testing revealed that personal factors differently influenced perceived organizational support and job satisfaction. Employees of both Thai public banks and Thai banks with foreign shareholders who work as core and support staffs differently had perceived organizational support, job satisfaction, and job performance.

 

Download : การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานในภาคธุรกิจธนาคาร