Thai Dance : convey of cultural rather than entertainment

โดย ประวิทย์ ฤทธิบูลย์

ปี 2558

วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 2, ฉบับที่ 1 (ม.ค. – มิ.ย. 2558), หน้า 106-137

บทคัดย่อ

เนื้อหาในบทความนี้ผู้เขียนต้องการนำเสนอให้เห็นถึงความเป็นมรดกที่ทรงคุณค่าและการมีอิทธิพลหลากหลายทางวัฒนธรรมของนาฏศิลป์ไทยที่สื่อให้เห็นถึงความเป็นมาและการสืบทอดของนาฏศิลป์ไทย ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการตีความให้สังคมรับรู้ ในการสื่อสารและการสื่อความหมายในงานทางด้านนาฏศิลป์ไทยไปในทิศทางที่ส่งเสริมและเป็นการสนับสนุนงานศิลปะในทางที่ดีขึ้น โดยไม่ควรมองนาฏศิลป์เป็นเพียงเรื่องบันเทิงที่สร้างขึ้นมาจากโลกมายาแห่งจินตนาการผ่านมโนทัศน์ของศิลปินเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์เพื่อใช้เสพและปลดปล่อยพันธนาการทางด้านอารมณ์ นาฏศิลป์จึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการสื่อความหมายด้วยคติความเชื่อทางวัฒนธรรมซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกลบเกลื่อนให้รับรู้เสมือนว่าเป็นธรรมชาติ หรืออาจกล่าวได้ถึงที่สุดว่าเป็นกระบวนทัศน์ที่แฝงไว้ด้วยอุดมการณ์ทางมายาคติที่ส่งผ่านด้วยสื่อทางศิลปะและวัฒนธรรม เมื่อได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับนาฏศิลป์แล้วนั้นสามารถนำมาประมวลได้ว่านาฏศิลป์เองเป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์ โดยมีการแสดงออกถึงด้านภาษา ท่าทาง และดนตรี ซึ่งพฤติกรรมทางด้านนาฏศิลป์ไทยจึงเป็นพฤติกรรมที่หลอมรวมสิ่งที่ดีงามเกี่ยวกับกาย วาจา ใจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการแสดงออกถึงความเป็นมนุษย์ที่แตกต่างไปจากสัตว์ทั้งหลาย จึงเป็นเหตุที่มีการตระหนักถึงการปลูกฝังถึงวัฒนธรรมทางนาฏศิลป์ไทยเพื่อให้เยาวชนคนไทยในรุ่นหลังได้เป็นที่รู้จักในศิลปะประจำชาติในศาสตร์หนึ่งที่ควรแก่การอนุรักษ์และถ่ายทอดในสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงทางสังคมอยู่ในขณะนี้ เราเองควรตั้งแนวคิดในการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงนาฏศิลป์ไทย เพื่อกระตุ้นและเสริมสร้างความน่าสนใจที่ดึงคนในสังคมให้หันกลับเข้ามามองตัวเองให้มากกว่าสนใจคนอื่น เพราะการเปลี่ยนแปลงนั้นก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ในสังคมขึ้นได้ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงจึงเปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งดีและไม่ดี ผู้เขียนในฐานะประชาชนคนไทยต้องการปลูกจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วน และทุกๆ คนสร้างความเป็นชาติไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดินสืบไป

In this article, the author wants to present the heritage of Thai dance and its various influence to Thai culture, shedding light in the way this knowledge is conveyed from one generation to the next. This investigation explains the selected method of communication and interpretation of Thai dancing to better support and share the art. The dance movements were not just mere superficial imagination created by the artists a form of entertainment but instead an expression of their emotion. This reason explains the intertwined relationship of Thai dance and Thai beliefs which have always exist alongside each other, resulting in artful expression of various subjects of Thai culture. After learning and acquiring knowledge about Thai performing art, it conveyed a deeper meaning of the human condition through its combination of verbal, movement, and instrumental performance. Thai performance art, therefore, includes the three vital components that sets human apart from other animals; body, speech and mind. It is why heavy emphasis has been made to the new generation that the national tradition of Thai performance art must be familiarized, cultivated, and passed down. In this rapidly evolving society, we should make change or create new ways to regain public interests of Thai performance art. Regardless, social change is a double-edged sword and Thai writers have a responsibility of awakening the sense of pride and nationalism in Thai people all over the country to continue to preserve our culture and tradition.

 

Download : นาฏศิลป์ไทย : สื่อทางวัฒนธรรมที่มากกว่าความบันเทิง