Problems and obstacles in the application of Government Fiscal Management Information System (GFMIS) : a case study of the Department of Fisheries

โดย วิไลลักษณ์ จิ้วเส้ง และ อภิรดา สุทธิสานนท์

ปี 2556

บทความวิจัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ธันวาคม 2556 หน้า 523-528

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS มาใช้ในกรมประมง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS ของหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคกรมประมง 204 หน่วยงาน และหน่วยงานราชการส่วนกลาง 1 หน่วยงาน จำนวน 232 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวน และสถิติทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปฏิบัติงานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านการประเมินประสิทธิผลของระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS อยู่ในระดับมาก และด้านปัญหาและอุปสรรคในการนำระบบบริหารมาใช้ในกรมประมง อยู่ในระดับมากที่สุดในด้านการปฏิบัติงานเพราะระบบ GFMIS มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดความล่าช้าและเสียเวลาในการปฏิบัติงานในช่วงสิ้นเดือนและสิ้นงบประมาณประจำปี และขั้นตอนในการปฏิบัติงานยุ่งยาก

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุและการเข้ารับการฝึกอบรมต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการประเมินประสิทธิผลของระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS แตกต่างกัน ในด้านการบูรณาการข้อมูลทางการเงินการคลังภาครัฐ และในด้านความรวดเร็วและทันต่อการตัดสินใจ ส่วนปัจจัยด้านความโปร่งใส ด้านความประหยัด ด้านความรวดเร็วและทันต่อการตัดสินใจ และด้านการบูรณาการข้อมูลทางการเงินการคลัง มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS

The objective of this study was to investigate the problems and obstacles in the application of Government Fiscal Management Information System (GFMIS) in the Department of Fisheries. The samples used in the study comprised 232 officers dealing with the Government Fiscal Management Information System (GFMIS), and were drawn from 204 provincial fishery offices and one central administrative office. The data were collected with the application of questionnaires and were analyzed using the statistical package for the social sciences. The statistics used for the data analysis consisted of Percentage, Mean, Standard Deviation, and Pearson Correlation Coefficient.

The results demonstrated that the respondents’ opinion toward the aspect of the efficiency assessment of the Government Fiscal Management System was at a high level. The respondents considered the problems and obstacles in the application of GFMIS in the Department of Fisheries in the aspect of operating at the highest level, since GFMIS had always been changed and this could lead to the delay and wasted time in operating at the end of the month and at the end of the fiscal year, moreover the operating process was rather complicated.

The results of hypothesis testing revealed that the officers with different age and training opportunities had different opinions toward the factors on efficiency assessment of the GFMIS in the aspects of information integration of the government fiscal conditions, speediness and quick decision making. The study showed that the aspects of transparency, economy, speediness, quick decision making, and information integration of the government fiscal conditions had a positive relationship with the problems and obstacles in the application of GFMIS.

 

Download : ปัญหาและอุปสรรคการนำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS มาใช้ : กรณีศึกษา กรมประมง