Factors affecting morality and ethics on the internet usage

โดย ศุกรีย์ ศรีสารคาม

ปี 2557

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณธรรม จริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัด ปทุมธานี ปีการศึกษา 2557 จำนวน 5 โรงเรียน จำนวนตัวอย่าง 391 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย Independent Samples t-test, One-way ANOVA, และ Post Hoc ด้วยวิธี LSD ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่าหรือเท่ากับ 13 ปี ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ใช้ช่วงเวลาหลังเลิกเรียนในวันจันทร์-ศุกร์ และวันเสาร์-อาทิตย์ใช้อินเทอร์เน็ตในช่วงเวลาตั้งแต่ 18.01 – 24.00 น. โดยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ในการใช้อินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่ใช้ที่บ้าน ศึกษาการใช้อินเทอร์เน็ตด้วยตนเอง พอมีความรู้บ้างเกี่ยวกับข้อกฎหมายในการใช้อินเทอร์เน็ต ใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงเพื่อค้นหาข้อมูลภายในประเทศและจากต่างประเทศ

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ และระดับชั้นการศึกษา มีผลต่อคุณธรรมจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตในภาพรวม และช่วงเวลา สถานที่ในการใช้อินเทอร์เน็ต การใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและขอบเขตในการใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีผลต่อคุณธรรม จริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตในภาพรวม

This independent study aimed to explore factors affecting morality and ethics on the internet usage. The sample group was 391 middle school and high school students from 5 schools located in the fourth educational zone, Pathumthani Province. Statistics used to analyze data were descriptive statistics including frequency, percentage, mean, and standard deviation; and inferential statistics including Independent Samples t-test, One-way ANOVA, and Post Hoc using LSD at the statistical significance level of 0.05.

The results found that most of the respondents were female, less than or equal to 13 years old, studying in the 8th grade, using the internet after school on weekdays, using the internet between 6.01 p.m. to 12 a.m. on the weekends, and using mobile phone to access the internet. Most of them used the internet at home, were self-learning on the internet usage, had little knowledge on the internet laws, used the internet for entertainment and searching information within the country and from aboard.

The hypothesis results revealed that gender, age, and education level affected to the morality and ethics on internet usage in all aspects. Period of time, location, internet network provider, and scope of internet service affected the morality and ethics on internet usage in all aspects.

 

Download : ปัจจัยที่มีผลต่อคุณธรรม จริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต