Knowledge and attitudes towards the use of Enterprise Resource Planning (ERP) of the Rajamangala University of Technology

โดย ศีจุฑา ปอน้อย และ สุรีรัตน์ อินทร์หม้อ

ปี 2556

บทความวิจัยบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ธันวาคม 2556 หน้า 626-632

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติต่อการใช้ระบบงานการวางแผนทรัพยากรองค์การมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านเบิกจ่าย ด้านการเงิน ด้านบัญชี ด้านพัสดุ เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 137 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples t-test, One-way ANOVA และตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วย วิธี Least Significant Difference

ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงาน 5-10 ปี สังกัดกอง/ศูนย์ และใช้งาน ระบบงานการวางแผนทรัพยากรองค์การ อย่างสม่ำเสมอ เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความรู้และทัศนคติต่อการใช้ระบบงานการวางแผนทรัพยากรองค์การ ของมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับปานกลาง

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา หน่วยงานที่สังกัด ความถี่ในการใช้งาน และความรู้มีผลต่อการใช้งานระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านประสบการณ์ในการทำงาน และทัศนคติ มีผลต่อการใช้งานระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การไม่แตกต่างกัน

The purpose of this independent study was to study the knowledge and attitudes towards the use of enterprise resource planning (ERP) of the Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Samples used in this research were 137 operational officials on disbursement, financing, accounting and inventories as well as information officials at the Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The tool used in this research was the questionnaire. The statistics used in data analysis included Percentage, Mean, Standard Deviation, Independent Samples t-test, One-way ANOVA. The difference checking was conducted in pairs through the Least Significant Difference (LSD) method.

Results of the research found that most of the respondents were female aged between 31 and 40, married, and holding a bachelor’s degree. Their work experience ranged from 5-10 years. Attached to either a center or a division of the university and consistently used the ERP system. Most of the officials had a medium level of knowledge and attitudes on the ERP of the university.

Results of hypothesis tests found that sex, age, educational level, as well as center of division, the frequency of using ERP and users knowledge had different impacts on the use of ERP at a significant level of 0.05. In general, work experience and attitudes had similar impacts to the use of ERP.

 

Download : ความรู้และทัศนคติต่อการใช้งานระบบงานการวางแผนทรัพยากรองค์การของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี