Productivity improvement in hen farm with industrial engineering techniques : a case study of poultry department at rajamangala university of technology tawan-ok Chanthaburi campus

โดย ยิ่งยศ ทิพย์ศรีราช

ปี 2556

บทคัดย่อ (Abstract)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการในการปฎิรูปและปรับปรุกระบวนการผลิตไก่ไข่ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยหวังว่าจะสามารถเพิ่มผลผลิตไข่ที่มีคุณภาพจากค่าเฉลี่ยร้อยละ 83.29 ต่อรุ่น เป็นร้อยละ 90 ต่อรุ่น และลดผลผลิตไข่ไม่ได้คุณภาพจากค่าเฉลี่ยร้อยละ 2.45 ต่อรุ่น เป็นร้อยละ 1.00 ต่อรุ่น เพื่อให้ฟาร์มไก่ไข่มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 30

การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 6 ขั้นตอน โดยเริ่มจาก 1) การเตรียมตัวสำหรับการรื้อปรับระบบ 2) การเทียบและวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจที่มีอยู่เดิม 3) การออกแบบกระบวนการใหม่ 4) การทำให้กระบวนการที่รื้อปรับใหม่เกิดขึ้น 5) การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และ 6) การสรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาในการผลิตไก่ไข่ คือ ไข่แตก เมื่อมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตไก่ไข่แล้ว สามารถเพิ่มผลผลิตไข่ที่มีคุณภาพจากค่าเฉลี่ยร้อยละ 83.29 เป็นร้อยละ 90.35 สามารถ ลดผลผลิตคุณภาพไม่ได้คุณภาพจากค่าเฉลี่ยร้อยละ 2.45 เหลือร้อยละ 0.70 และสามารถลดปัญหา ไข่แตกจากร้อยละ 2.05 ร้อยละ 0.44 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) ซึ่งจากปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่ดีขึ้นทาให้ฟาร์มได้รับรายได้จากผลตอบแทนจากการเลี้ยงไก่ไข่เพิ่มขึ้น จาก 348,191 บาท เป็น 631,918.50 บาท แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าภายหลังการปรับปรุงกระบวนการเลี้ยงไก่ไข่สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 44.90

The objective of this research was to implement Industrial Engineering techniques in process re-engineering, process improvement and increase production efficiency in the hen farm business. There were three main aims of the research. Firstly that the good-quality of egg production can be raised from 83.29 percent to 90 percent per generation. Secondly, the bad quality of eggs was decreased from an average of 2.45 percent to 1.00 percent per generation. Lastly, the income of hen farm can be increased 30 percent.

There were 6 steps of the research methodology 1) prepare for reengineering 2) map and analyze as-is process 3) design to-be process 4) implement reengineered process 5) improve process continuously 6) make conclusion and suggestion

Based on the research, the main problem of the egg production was broken eggs. However, after implementing Industrial Engineering techniques, the result showed the good quality of egg production was increased from 83.29 to 90.35 percent and bad egg quality was dropped from 2.45 percent to 0.70. Moreover, broken eggs was significantly decreased from 2.05 to 0.44 percent (P<0.01). Thus, it can be seen the quantity and quality of output was improved. The farm can get more profit with an increasing income from 348,191 Baht to 631,918.50 Baht which accounted for 44.90 percent, but not significantly (P>0.05).

 

Download : การเพิ่มผลิตภาพฟาร์มไก่ไข่ด้วยเทคนิควิศวกรรมอุตสาหการ กรณีศึกษา : แผนกสัตว์ปีก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี