The development of a training course for pet’s beauty and spa

โดย รพีภรณ์ เบญจพิทักษ์ดิลก

ปี 2557

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการส่งเสริมสุขภาพและความงามของสัตว์เลี้ยง 2) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการส่งเสริมสุขภาพและความงามของสัตว์เลี้ยง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการส่งเสริมสุขภาพและความงามของสัตว์เลี้ยง

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557จานวน 30 คน ได้มาจากการสมัครใจเข้าร่วมเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเหมาะสมของโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม 2) แบบประเมินความสอดคล้องของเนื้อหาโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรม 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์จากการอบรม เป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 6 แผนการฝึกอบรม แผนละ 10 ข้อ รวม 60 ข้อ 4) แบบประเมินทักษะในการส่งเสริมสุขภาพและความงามสัตว์เลี้ยง จำนวน 4 แผนการฝึกอบรม และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการฝึกอบรมการส่งเสริมสุขภาพและความงามสัตว์เลี้ยงวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นว่าหลักสูตรฝึกอบรมการส่งเสริมสุขภาพและความงามของสัตว์เลี้ยงมีองค์ประกอบของโครงร่างหลักสูตรเหมาะสมสอดคล้องกัน โดยมีดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.6-1.0 2) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้การส่งเสริมสุขภาพและความงามของสัตว์เลี้ยงหลังการอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยคะแนนทักษะปฏิบัติหลังอบรม สูงกว่า 70% หรือ 28 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการนำความรู้ไปใช้

The objectives of this research were to : 1) develop a health and wellness promoting training course for pets, 2) study the outcome of implementing a training course, and 3) study the participants’ satisfaction towards a training course.

The sample consisted of 30 second-year students who have been studying in department of animal health science, Faculty of Agricultural Technology at Rajamangala University of Technology Thanyaburi in second semester, 2014. The sample of the study was a volunteer. The research instruments included 1) assessment of training course outline appropriateness, 2) assessment of outline content consistency, 3) achievement test, which is six 10-item multiple choice tests (total 60 items), 4) assessment of skills, which is 4 tests, and 5) satisfaction questionnaire. The statistical data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and t-test.

The research results of this study showed that 1)the experts indicated that training course elements and appropriateness of training course outline achieved standard index of item objective congruence (IOC) with IOC of 0.6-1.0, 2) on average, post-training scores of the sample students were higher than pre-training scores at statistical significance level of .01, 3) on average score had 28 points or 70 percent higher at statistical significance level of .01, and 4) the participants’ satisfaction towards a health and wellness promoting training course for pets was at highest level. By considering each aspect, knowledge application was an aspect with highest average score.

 

Download : การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการส่งเสริมสุขภาพและความงามของสัตว์เลี้ยง