Results of learning activities based on cooperative instructional model by student teams achievement division to develop learning  achievements in basic Thai dancing art of students grade 4

โดย มยุรี สุขมา

ปี 2557

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้นของนักเรียนในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้นของนักเรียนกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้นของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์และการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครูกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคลองเกลือ ปีการศึกษา 2556 จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่อง นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น และแบบประเมินทักษะการปฏิบัติท่ารำนาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( x̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนในกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนในกลุ่มควบคุมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนในกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น สูงกว่านักเรียนในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .05

This research aimed to study 1) the students’ learning achievement in the basic Thai dancing art of the sample group before and after using student teams achievement divisions as a cooperative learning technique, 2) the students’ learning achievement in the basic Thai dancing art in the control group before and after the instruction in the teacher’s manual, and 3) the students’ learning achievement in basic Thai dancing art in the sample group and the control group before and after using student teams achievement divisions as a cooperative learning technique and the instruction in the teacher’s manual. The sample group in this research was consisted of 66 fourth grade students from Khlong Kluea School in academic year 2012. The research instruments were student teams achievement divisions as a cooperative learning technique lesson plans, the basic Thai dancing art learning achievement test and the basic Thai dancing art skill test. The data were analyzed using mean, standard deviation, and t-test. The research showed that 1) the students’ learning achievement in the basic Thai dancing art of the experimental group after using student teams achievement divisions as a cooperative learning technique had a statistically significant increase at .05 level, 2) the students’ learning achievement in the basic Thai dancing art of the control group had a statistically significant increase at .05 level, and 3) the students’ learning achievement in the basic Thai dancing art of the experimental group was higher than of the control group at .05 level of significance.

Download : Results of learning activities based on cooperative instructional model by student teams achievement division to develop learning  achievements in basic Thai dancing art of students grade 4