Quality of work life and service efficiency of personnel of environmental research and training center

โดย กมลชนก งดงาม

ปี 2557

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับและความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและประสิทธิภาพในการให้บริการของบุคลากรศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมโดยรวบรวมข้อมูลจากการแจกแบบสอบถามบุคลากรศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม จำนวน 84 คน สถิติที่ใช้ คือ Independent Sample t-test, One-way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม มีคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านโอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพของบุคคล ด้านงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้านการผสมผสานทางสังคมร่วมกัน ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว ด้านสิทธิเสรีภาพในองค์การ ด้านความมั่นคงและความเติบโตในงาน ด้านสิ่งตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม และด้านสภาพทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ

บุคลากรศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพในการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการให้บริการที่เท่าเทียมกัน ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ด้านการให้บริการอย่างเพียงพอ และด้านการให้บริการอย่างรวดเร็วทันเวลา นอกจากนี้ยังพบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ทุกด้านมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการให้บริการโดยรวมและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งมีระดับความสัมพันธ์กันค่อนข้างสูง อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยด้านที่มีความสัมพันธ์มากที่สุด คือ ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว

This independent study was carried out to examine the level and the relationship between quality of work life and service efficiency of the personnel of the Environmental Research and Training Center. The data were gathered from 84 personnel of the Environmental Research and Training Center through the application of questionnaire, and were analyzed using Independent Samples t-test, One-way ANOVA, and Pearson Product Moment Correlation.

The study revealed that the personnel of the Environmental Research and Training Center had a very high level of overall quality of work life, and each quality of work life aspect could be ranked from high to low level as follows: opportunity for competency development, social benefit, social integration, work-life balance, right and freedom at workplace, career growth, adequate and fair compensation, and safe and healthy environment respectively.

The personnel of the Environmental Research and Training Center had a very high level of overall service efficiency, and each aspect of service efficiency could be ranked from high to low level as follows: same service standard, progressive service, continual service, adequate service, and fast service respectively. Moreover, it was found that each quality of work life aspect of the personnel of the Environmental Research and Training Center had a rather high level of positive relationship with overall service efficiency at 0.01 level of significance, and the highest level of relationship was work-life balance.

 

Download : คุณภาพชีวิตในการทำงานและประสิทธิภาพในการให้บริการของบุคลากรศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม