Management that affected motivation on employee performance: A case study of subdistrict administrative organization, Amphoe Muang, Pathumthani

โดย อดุลย์ กองสัมฤทธิ์

ปี 2557

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน (2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการที่มีต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Independent Samples t-test, One-Way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยจูงใจ ได้แก่ด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคล ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติและด้านโอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคตอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านความรับผิดชอบอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยค้ำจุน ได้แก่ ด้านเงินเดือนด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านสถานภาพการทำงาน ด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว ด้านความมั่นคงในการทำงานและด้านวิธีการปกครองบัญชา อยู่ในระดับปานกลาง

นอกจากนั้นยังพบว่า พนักงานที่มีอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนกับระดับการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง

The purposes of this study were (1) to investigate the management that affected the motivation on employee performance, (2) to examine the motivation on employee performance, and (3) to find out the relationship of the management that affected the motivation on employee performance. The sample of the study consisted of 400 employees of Subdistrict Administrative Organization in Amphoe Muang, Pathumthani. The data were collected through the application of questionnaire, and were analyzed using Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Independent Samples t-test, One-way ANOVA, and Pearson Correlation Coefficient.

The results of the study showed that the management that affected the motivation on overall employee performance was at the moderate level, and the motivation factors in the aspects of work achievement, recognition, work itself, and advancement were at the moderate level, while the responsibility aspect was at the high level. The maintenance factors in the aspects of salary, interpersonal relation, company policy and administration, career status, personal life, security, and supervision were at the moderate level.

It was also found that the employees with different age, average monthly income, level of education, and work experience had different opinion on the management that had effects on the motivation on the employee performance. The overall image of the motivation factors, the maintenance factors and the management that affected the motivation on employee performance demonstrated a high-level relationship.

 

Download : การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี