Relationship between stress, stress management and quality of work life of teachers working in Saraburi province

โดย ชุติมา พระโพธิ์

ปี 2558

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความเครียดในการทำงาน การจัดการ ความเครียด และคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในจังหวัดสระบุรี 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความเครียดในการทำงาน การจัดการความเครียด และคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในจังหวัดสระบุรี 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด การจัดการความเครียด และคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในจังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการครูในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 และเขต 2 จำนวน 352 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน Independent Sample t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเครียดในการทำงานโดยรวมระดับปานกลาง มีการจัดการความเครียดโดยรวมระดับปานกลาง และมีคุณภาพชีวิตการทางานอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศและขนาดของโรงเรียนที่สอนที่ต่างกัน มีความเครียดในการทำงานต่างกัน ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน และขนาดของโรงเรียนที่สอนที่ต่างกันมีการจัดการความเครียดแตกต่างกัน และพบว่า ลักษณะส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน สถานทางเศรษฐกิจ อายุราชการ และขนาดของโรงเรียนที่สอนที่ต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังพบว่า ความเครียดในการทำ งานมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันกับการจัดการความเครียดแบบมุ่งอารมณ์ และแบบหลีกหนี ความเครียดในการทำงานโดยรวม ความเครียดในการทำงานด้านโครงสร้างองค์การ และด้านผู้บังคับบัญชามีความสัมพันธ์ทิศทางตรงกันข้ามกับคุณภาพชีวิตการทำงาน และการจัดการความเครียด มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันกับคุณภาพชีวิตการทำงาน

The objectives of this study were to investigate (1) the level of job stress, stress management and quality of work life of teachers working in Saraburi Province, (2) personal factors affecting their job stress , stress management and quality of work life, and (3) relationship between the three mentioned aspects. The samples included 352 teachers working in Saraburi Primary Educational Service Area Office 1 and 2. The research instrument was a questionnaire analyzed by descriptive statistics including frequency, percentage, mean, and standard deviation. Hypothesis testing employed Independent Sample t-test, One-way ANOVA, and Pearson’s correlation coefficient at the 0.05 level of significance. Findings revealed that the job stress of respondents and stress management was at a moderate level but the quality of work life was at a high level. The results of the hypothesis testing showed that different gender and school size showed different job stress. Different personal factors of different gender, age, marital status, monthly income and the size of school demonstrated stress management. Moreover, different level of education, monthly income, economic status, work experience and school size affected quality of work life. Besides, it was found that job stress was associated with stress management toward the focusing on solving with emotion and the avoidance. The overall stress, stress on organizational structure and organizational leadership had negative relationship with the quality of work life while the stress management was related to the quality of work life positively.

Download : Relationship between stress, stress management and quality of work life of teachers working in Saraburi province