A single sign-on application for Rajamangala University of Technology Thanyaburi online classroom management

โดย สุจิตรา ยอดเสน่หา

ปี 2560

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสถานภาพการดำเนินงานการยืนยันตัวตนของนักศึกษา ในด้านการใช้ระบบยืนยันตัวตนเพียงครั้งเดียว (2) เพื่อศึกษาปัญหาในการประยุกต์ใช้ระบบยืนยันตัวตนเพียงครั้งเดียวในการบริหารจัดการห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการจัดการห้องเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ด้วยการยืนยันตัวตนเพียงครั้งเดียว การดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสม ซึ่งการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการตอบปัญหาผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในประเด็นการลืมบัญชีผู้ใช้งาน (User/Password) จาก moodle@mail.rmutt.ac.th การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จานวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ที่ระดับค่าความเชื่อมันที่ 95% วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) จากการศึกษาสถานภาพการดำเนินงานจากการประยุกต์ใช้ระบบ การยืนยันตัวตนเพียงครั้งเดียว พบว่า ด้านความสามารถของระบบในการสนับสนุนการเรียนรู้ อยู่ในระดับดี (x̄= 2.41 , SD = .52) ด้านความสามารถของระบบให้บริการความรู้ อยู่ในระดับดี (x̄= 2.41 , SD = .54) (2) เมื่อประยุกต์ใช้ระบบการยืนยันตัวตนเพียงครั้งเดียวในการบริการจัดการห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทาให้ปัญหาการลืมบัญชีผู้ใช้ลดลง ถึงร้อยละ 49.82 (3) กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนความพึงพอใจในประเด็นระบบมีความสะดวกสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา ในระดับมาก (x̄= 2.52 , SD = .59) (4) สำหรับแนวทางในการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จากผลการวิเคราะห์นั้น เห็นควรต้องปรับปรุงในเรื่องของระบบการให้ความช่วยเหลือ โดยนักศึกษายังคงต้องการระบบบริการตอบปัญหาทางโทรศัพท์

The purposes of this study were 1) to study the operational status of a single sign-on application for Rajamangala University of Technology Thanyaburi online classroom management, 2) to study potential problems in implementation of a single sign-on application for Rajamangala University of Technology Thanyaburi online classroom management, 3) to seek for guidelines for the improvement of a single sign-on application for Rajamangala University of Technology Thanyaburi online classroom management. The research was a mixed-method, consisting of two types of data. According to the qualitative method, data were collected from the correspondences via the email: moodle@mail.rmutt.ac.th on the enquiries about user ID and password. Regarding the quantitative method, data were collected from 400 students through a questionnaire. The sample group was selected by a stratified random sampling at the confidence level 95%. The data were analyzed using frequency, percentage, standard deviation, and descriptive data analysis. The research found that: (1) the operational status of a single sign-on application implementation supporting the learning aspect at the ‘good’ level with the mean of 2.41 (SD=.52) and the knowledge service aspect at the ‘good’ level with the mean of 2.41 (SD=.54). (2) The implementation of a single sign-on application for Rajamangala University of Technology Thanyaburi online classroom management had reduced 49.82% of the forgotten user ID and password problem. (3) The satisfaction on the ubiquitous accessibility of the application was at the ‘high’ level with the mean of 2.52 (SD=.59). (4) The guideline for the Rajamangala University of Technology Thanyaburi online classroom development is that the phone helpdesk is mainly required for getting more information about the system.

Download :  A single sign-on application for Rajamangala University of Technology Thanyaburi online classroom management