Web Design for Student Affair of Faculty of Mass Communication Technology Rajamangala University of Technology Thanyaburi

ผู้วิจัย อภิวัฒน์ วงศ์เลิศ

งบประมาณรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2558


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีชื่อเรื่องว่า การออกแบบเว็บไซต์ของฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเว็บไซต์ฝ่ายพัฒนานักศึกษาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้งานเว็บไซต์ฝ่ายพัฒนานักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

วิธีการศึกษาทำโดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2558 ทั้ง 6 สาขาวิชา ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จานวน 942 คน โดยอ้างอิงข้อมูลจากแผนการรับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ประจาปี 2558 โดยเก็บข้อมูลโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมของ Taro Yamane โดยประชากรทั้งหมด 942 คน โดยกำหนดระดับความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 5 เปอร์เซ็นต์ จะเท่ากับ 280.77 ผู้วิจัยจะใช้กลุ่มตัวอย่าง 300 คนเพื่อทำการวัดความพึงพอใจต่อสื่อเว็บไซต์ที่ออกแบบจากประชากรทั้งหมด และใช้เครื่องมือในการในการประกอบวิจัยประกอบด้วย สื่อเว็บไซต์ที่มีการออกแบบเว็บไซต์ฝ่ายพัฒนานักศึกษา แบบประเมินความต้องการสำหรับกลุ่มตัวอย่าง แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับกลุ่มตัวอย่าง โดยมีสถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ คือ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมของ Taro Yamane

ผลการวิจัยสรุปว่า ผลการวิเคราะห์คุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาข้อมูล ในด้านเนื้อหา อยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก ในด้านการนำเสนอข้อมูล อยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก ในด้านการนำเสนอข้อมูลในการประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับมีคุณภาพดี ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บไซต์ฝ่ายพัฒนานักศึกษาของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก ด้านการออกแบบ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความพึงพอใจด้วยมาก ด้านการใช้งาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก

คำสำคัญ: การประชาสัมพันธ์, เว็บไซต์, ฝ่ายพัฒนานักศึกษา, การออกแบบเว็บไซต์


วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

  1. เพื่อออกแบบเว็บไซต์ของฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย
    เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการออกแบบเว็บไซต์ของฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ขอบเขตของโครงการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในปีการศึกษา 2558 จำนวน 942 คน

กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2558 ทั้ง 6 สาขาวิชา ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 942 คน โดยอ้างอิงข้อมูลจากแผนการรับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ประจำปี 2558 โดยเก็บข้อมูลโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมของ Taro Yamane โดยประชากรทั้งหมด 942 คน โดยกำหนดระดับความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 5 เปอร์เซ็นต์ จะเท่ากับ 280.77 ผู้วิจัยจะใช้กลุ่มตัวอย่าง 300 คนเพื่อทำการวัดความพึงพอใจต่อสื่อเว็บไซต์ที่ออกแบบจากประชากรทั้งหมด

ขอบเขตด้านเนื้อหา

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2558 ทั้ง 6 สาขาวิชา ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีต่อเว็บไซต์ของฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เพื่อการออกแบบเว็บไซต์ให้ตรงกับความพึงพอใจของนักศึกษาระหว่าง ปี พ.ศ. 2558-2559 และวัดความพึงพอใจด้วยแบบสอบถาม ต่อการออกแบบเว็บไซต์ฝ่ายพัฒนานักศึกษา

การพัฒนาเว็บไซต์นั้นผู้วิจัยได้จัดทำตามขั้นตอนในการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์ฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

  1. ข้อมูลของฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ประวัติความเป็นมา โครงสร้างของฝ่ายพัฒนานักศึกษา กิจกรรมของนักศึกษา ภาพรวมของกิจกรรม งานประกันคุณภาพ
  2. ข้อมูลเพื่อการประชาสัมพันธ์ อาทิ ทุนการศึกษา สันทนาการ ศิลปวัฒนธรรม กีฬา และเผยแพร่กิจกรรมของนักศึกษาด้านต่าง ๆ
  3. ข้อมูลสาคัญที่จาเป็นต่อนักศึกษา อาทิ ประกาศระเบียบสาหรับนักศึกษา แบบฟอร์มดาวน์โหลดสาหรับนักศึกษา แบบฟอร์มบันทึกประวัตินักศึกษา
  4. การเชื่อมโยงไปยังลิงก์เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการออกแบบเว็บไซต์ฝ่ายพัฒนานักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. ได้แก้ไขปัญหาในการทำงาน เนื่องจากเว็บไซต์คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มีข้อมูลในส่วนภาพกิจกรรมนักศึกษาเท่านั้น โดยเว็บไซต์ฝ่ายพัฒนานั้นจะมีความละเอียดในส่วนของข้อมูลของนักศึกษามากขึ้น โดยมีการเพิ่มหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่า โครงการสาหรับนักศึกษา ตารางกิจกรรม ข้อมูลเกี่ยวกับ สวัสดิการ และทุนนักศึกษา เป็นต้น
  3. ได้แนวทางในการวางแผนเพื่อการออกแบบเว็บไซต์ของฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  4. ได้เว็บไซต์ที่เป็นช่องทางในการติดต่อกับเครือข่ายผู้ปกครองโดยตรงในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้ผู้ปกครองเข้าใจ และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร

นิยามศัพท์

  1. การออกแบบเว็บไซต์ หมายถึง การดำเนินการออกแบบในการสร้างสื่อออนไลน์ ที่มีการเชื่อมต่อไว้ในเครื่องแม่ข่ายซึ่งต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ โดยจัดทาขึ้นเพื่อนาเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  2. ฝ่ายพัฒนานักศึกษา หมายถึง หน่วยงานของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนที่มี ความต้องการเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาในหลาย ๆ ด้านโดยเสริมสร้างทักษะ ความรู้และประสบการณ์ทางด้านวิชาการให้แก่นักศึกษา ปรับอารมณ์ จิตใจ ในการที่จะอยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างมีความสุข โดยให้นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และ พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาด้วยกันในการทางานร่วมกัน โดยสามารถนาความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในงานกิจกรรมนักศึกษาก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมในด้านอื่น ๆ และส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมตามความสนใจของนักศึกษา
  3. เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ หมายถึง สื่อประชาสัมพันธ์ประเภทเว็บไซต์สาหรับประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่จัดในองค์กร เป็นสื่อที่สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว มีความน่าเชื่อถือ และสามารถที่จะโต้ตอบข้อมูลกันระหว่างหน่วยงานและบุคคลภายนอกได้
  4. การออกแบบเว็บไซต์ฝ่ายพัฒนานักศึกษา หมายถึง การนำข้อมูลจากการสารวจความต้องการเกี่ยวกับกิจกรรมของฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มาออกแบบเพื่อรองรับกิจกรรมตลอดภาคการศึกษาและคำนึงถึงหลักการออกแบบเว็บไซต์ การเข้าถึงข้อมูล
  5. กิจกรรมนักศึกษา หมายถึง กิจกรรมที่กองพัฒนานักศึกษาจัดขึ้นตามนโยบายของทางมหาวิทยาลัย หรืออาจจะเป็นกิจกรรมนอกหลักสูตรที่นักศึกษาจัดขึ้นเองด้วยความสมัครใจ ซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในหลักสูตร โดยมีประเภทของกิจกรรมอยู่หลากหลายประเภท เช่น กิจกรรมส่วนกลาง กิจกรรมวิชาการ กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมกีฬา กิจกรรมศิลปะและวัฒนธรรม กิจกรรมบาเพ็ญประโยชน์ เช่น ค่ายอาสาพัฒนา เป็นต้น

สรุปผลการศึกษา อภิปราย ปัญหาและอุปสรรค

จากการวิจัยเรื่อง “การออกแบบเว็บไซต์ฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” ผู้จัดทาได้ทาการประเมินแบบประเมินคุณภาพสื่อจากผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มตัวอย่างในด้านความพึงพอใจที่มีต่อสื่อ ผลการศึกษากับผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มตัวอย่างที่ผู้จัดทาได้ประเมินแบบสอบถาม เมื่อได้รับชมสื่อการออกแบบเว็บไซต์ฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จนได้ผลสรุป 5 หัวข้อได้แก่

  1. สรุปผลคุณภาพของสื่อจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
  2. สรุปผลความพึงพอใจที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่าง
  3. อภิปรายผลการศึกษา
  4. ปัญหาและอุปสรรค

สรุปผลคุณภาพของสื่อจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

ผลสรุปการศึกษาเรื่องการผลิตสื่อการออกแบบเว็บไซต์ฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สาหรับผู้เชี่ยวชาญ ได้มีการแบ่งหัวข้อทั้งหมด 7 หัวข้อ ซึ่งได้สรุปใน แต่ละส่วนดังต่อไปนี้

  1. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา
    จากผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาข้อมูลในด้านเนื้อหา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ตัวอักษรมีขนาด สี และรูปแบบที่เหมาะสมชัดเจน และง่ายต่อการอ่าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00 อยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก การนาเสนอเนื้อหาน่าสนใจและมีประโยชน์ และเนื้อหาสามารถอ่านเข้าใจง่ายและสื่อความหมายได้ชัดเจน อยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 รองลงมา คือ เนื้อหาข้อมูลมีความถูกต้องและชัดเจน อยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58
  2. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการนำเสนอข้อมูล
    จากผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาข้อมูลในด้านเนื้อหา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ตัวอักษรมีขนาด สี และรูปแบบที่เหมาะสมชัดเจน และง่ายต่อการอ่าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00 อยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก การนำเสนอเนื้อหาน่าสนใจและมีประโยชน์ และเนื้อหาสามารถอ่านเข้าใจง่ายและสื่อความหมายได้ชัดเจน อยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 รองลงมา คือ เนื้อหาข้อมูลมีความถูกต้องและชัดเจน อยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58
  3. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการนาเสนอข้อมูลในการประชาสัมพันธ์
    จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาข้อมูลในด้านการนาเสนอข้อมูลในการ
    ประชาสัมพันธ์ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.30 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การนาเสนอข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ง่าย ความเหมาะสมของการเชื่อมโยงระหว่างภาพแต่ละภาพ การออกแบบมีความน่าสนใจชวนติดตาม การวางแผนตาแหน่งเครื่องหมายต่าง ๆ สะดวกต่อการใช้งาน มีระดับคุณภาพที่เท่ากัน คืออยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00 รองลงมา คือ การนำเสนอข้อมูลเหมาะสมกับการประชาสัมพันธ์ระบบต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์มีความเหมาะสมและง่ายต่อการใช้ ความเหมาะสมของการผสมผสานสื่อต่าง ๆ เข้าด้วยกันมีความสมดุลและง่ายต่อ
    การใช้งาน อยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 และ การนำเสนอข้อมูลมีการปฏิสัมพันธ์ต่อผู้ใช้งาน อยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00
  4. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านภาพ
    จากผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพ พบว่าภาพโดยรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.41 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความต่อเนื่องของภาพในการนาเสนอมีความเหมาะสมดีมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00 รองลงมา คือ ภาพมีความชัดเจนเหมาะสมกับการนาเสนอ มีระดับคุณภาพที่ดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 รองลงมา คือ การเชื่อมต่อภาพมีความสมบูรณ์และเหมาะสม มีระดับคุณภาพที่ดี และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 สุดท้าย การสลับภาพแต่ละภาพไม่รบกวนสายตามากจะเกินไป มีระดับคุณภาพที่ดี และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.00 ตามลำดับ
  5. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการออกแบบ
    จากผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเว็บไซต์ในด้านการออกแบบ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สีสันในการออกแบบสื่อมีความเหมาะสม แม่แบบ (Template) มีความสวยงาม สมดุล และเหมาะสมกับการใช้งาน อยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00 รองลงมาคือ การจัดรูปแบบของสื่อมีความเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน อยู่ในระดับมีคุณภาพดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 สุดท้าย การสื่อความหมายของสัญลักษณ์ อยู่ในระดับมีคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.00 ตามลำดับ

สรุปผลความคิดเห็นที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่าง

ผลสรุปการศึกษาจากการวิจัยเรื่อง “การออกแบบเว็บไซต์ฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน” ได้ทำการเก็บข้อมูลและประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อ “การออกแบบเว็บไซต์ฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน” จากกลุ่มตัวอย่าง โดยมีประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2558 ทั้ง 6 สาขาวิชา ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 942 คน โดยอ้างอิงข้อมูลจากแผนการรับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ประจำปี 2558 และเก็บข้อมูลโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมของ Taro Yamane โดยประชากรทั้งหมด 942 คน โดยกาหนดระดับความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 5 เปอร์เซ็นต์ จะเท่ากับ 280.77 ผู้วิจัยจะใช้กลุ่มตัวอย่าง 300 คนเพื่อทาการวัดความพึงพอใจต่อสื่อเว็บไซต์ที่ออกแบบจากประชากรทั้งหมดโดยการสุ่มจากสาขาสาขาละ 50 คน จากทั้ง 6 สาขา รวมทั้งหมด 300 คน ดังต่อไปนี้

  1. ผลสรุปด้านเนื้อหาข้อมูล พบว่าผลการสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่างในด้านเนื้อหาข้อมูล พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.86 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ข้อมูลมีความถูกต้องและชัดเจนมีพึงพอใจมากที่สุด คืออยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61 รองลงมา คือ การนำเสนอเนื้อหาน่าสนใจและมีประโยชน์ อยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.88 รองลงมาคือ เนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจง่ายและสื่อความหมายได้ชัดเจน อยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.90 และลาดับที่น้อยที่สุดคือ ตัวอักษรมีขนาด สี และรูปแบบที่เหมาะสม ชัดเจน และง่ายต่อการอ่าน อยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.96
  2. ผลสรุปด้านการออกแบบ พบว่าผลการสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่างในด้านการออกแบบเว็บไซต์ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความพึงพอใจด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.11 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สีพื้น สีข้อความ และสีของภาพประกอบมีความเหมาะสม มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ อยู่ในระดับมีความพึงพอใจด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.06 รองลงมา คือ ภาพประกอบสามารถที่จะสื่อความหมายได้ อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.92 รองลงมา คือ การจัดวางองค์ประกอบหน้าจอได้สัดส่วนและเหมาะสม อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.88 และการใช้สีสวยงาม สบายตา ไม่ฉูดฉาดในการออกแบบเว็บไซต์ อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75 และ การจัดรูปแบบในเว็บไซต์ง่ายต่อการอ่านและการใช้งาน อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.81 และลำดับน้อยที่สุด คือ มีความเร็วในการแสดงภาพ ตัวอักษร และข้อมูลต่าง ๆ อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.85
  3. ด้านการใช้งาน พบว่า โดยภาพผลการสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อสื่อจากกลุ่มตัวอย่างในด้านการใช้งาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.03 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า เป็นแหล่งข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานอยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.89 รองลงมาคือ ระบบนำทางในการรับชมสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.92 และ ความถูกต้องในการเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.85 และ ความถูกต้องในการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ภายนอก รวมถึง เป็นสื่อที่เหมาะสมต่อการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรมได้ อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 3.98 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.83 และ 0.92 และลำดับที่น้อยที่สุด คือ ความเหมาะสมในการปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้ใช้ อยู่ในระดับมีความเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.89 ตามลำดับ