Mobile Application Vocabulary for Digital Media

ผู้วิจัย วรรณชนก สุนทร

งบประมาณรายได้ประจำปี 2558


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคือ 1) เพื่อการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชันคลังคำศัพท์ทางดิจิทัลมีเดีย
2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อการใช้โมบายแอพพลิเคชัน โดยมีขั้นตอนการวิจัยคือรวบรวมคำศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับเทคโนโลยีสื่อดิจิทัล และศึกษาการพัฒนาแอพพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ Android โดยใช้ภาษา Java โดยใช้บริการของ Cloud Sever ทั้งนี้แอพพลิเคชันสามารถค้นหาคำศัพท์ด้วยเสียง (Voice Recognition) เพื่อความสะดวกของผู้ใช้งาน เมื่อพัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงมีการทดสอบระบบ ด้วยการให้กลุ่มตัวอย่างใช้งาน และสอบถามความพึงพอใจผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอพพลิเคชันคลังคำศัพท์ทางดิจิทัลมีเดียมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 อยู่ในเกณฑ์มาก

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

  1. เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับการสืบค้นคำศัพท์ทางด้านดิจิทัลมีเดีย
  2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนที่มีต่อการใช้โมบายแอพพลิเคชัน

ขอบเขตของโครงการวิจัย

  1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากร คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

    กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัล คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 30 คน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง

  2. ขอบเขตด้านเนื้อหา
    เนื้อหาเกี่ยวกับคำศัพท์ทางดิจิทัลมีเดีย คำศัพท์ทางเทคนิคอื่นๆโดยผ่านการประเมินด้านเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญในด้านดิจิทัลมีเดีย
  3. ด้านเทคนิค แอพพคลิเคชันพัฒนาบนระบบแอนดรอยน์

วิธีดำเนินการวิจัย

  1. ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย การพัฒนาแอพพลิเคชันบนมือถือ รวมรวมข้อมูลเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
  2. ออกแบบแอพพลิเคชัน หน้าจอ รายละเอียดของเนื้อหา และสร้างแอพพลิเคชัน
  3. ออกแบบสอบถามเพื่อวัดความพึงพอใจ
  4. นำแอพพลิเคชันไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง และนำมาปรับปรุงแก้ไข
  5. สรุปผล

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประโยชน์ด้านวิชาการ
    1. ได้โมบายแอพพลิเคชันคลังคำศัพท์ภาษาอังกฤษทางดิจิทัลมีเดีย สำหรับการสืบค้นต่างๆ เพื่อให้นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปเกิดการเรียนรู้
    2. สามารถจดลิขสิทธิ์การพัฒนาแอพพลิเคชันได้ เป็นทรัพย์สินทางปัญญา
  2. ประโยชน์ด้านนโยบาย
    1. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในด้านการไม่ละเมิดงานลิขสิทธิ์ทางปัญญาของบุคคลอื่น
    2. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีกับมหาวิทยาลัย ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาสร้างงานที่ถูกลิขสิทธิ์ทันสมัย
  3. ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ/พาณิชย์ แอพพลิเคชันสามารถเปิดให้บุคคลทั่วไปดาวน์โหลดใช้งานได้ โดยคิดค่าบริการ โดยมีหน่วยงานที่นำไปใช้ประโยชน์ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ โรงเรียนต่าง ๆ หน่วยงานเอกชน บริษัทต่าง ๆ องค์กรอิสระ รวมถึงประชาชนทั่วไป

สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

ผลการวิจัย

ผู้วิจัยพัฒนาโมบายแอพพลิเคชันคลังคำศัพท์ทางดิจิทัลมีเดีย โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จำนวน 30 คน โดยมีผลการศึกษาวิจัยดังนี้

ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้งานโมบายแอพพลิเคชันคลังคำศัพท์ทางดิจิทัล
มีเดีย อยู่ในเกณฑ์ดี

อภิปรายผลการวิจัย

  1. โมบายแอพพลิเคชันมีความสะดวกในการเข้าใจงาน เนื่องจากมีการออกแบบปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน (User Interface) โดยคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก โดยปุ่มเมนูต่าง ๆ ออกแบบตามสัญลักษณ์ที่เป็นที่เข้าใจในการใช้งานแอพพลิเคชัน มีความทันสมัย
  2. มีความสะดวกรวดเร็วในการเข้าใช้งานโปรแกรมและค้นหาคำศัพท์ เนื่องจากใช้บริการผ่าน Cloud Server โดยเลือก Server ที่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ทำให้ได้ความเร็วสูงสุดในการเรียกและรับส่งข้อมูล อีกทั้งยังไม่หนักเครื่องด้วย แต่ในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วของแพ็คเกตอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งาน สถานที่ที่ใช้ว่ามีสัญญาณอินเทอร์เน็ตหรือไม่ และประสิทธิภาพของสมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ตของนักศึกษาอีกด้วย
  3. ฟังก์ชันการใช้เสียงในการค้นหาคำศัพท์มีความสะดวกมาก ออกแบบมาเพื่อผู้ที่ไม่สามารถพิมพ์ได้ หรือสายตาไม่ดี หรือเวลาที่ต้องการความรวดเร็วในการค้นหาคำศัพท์ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกเสียงของผู้ใช้งานด้วย ในส่วนนี้หากผู้ใช้งานออกเสียงไม่ตรง อาจจะทำให้การค้นหาความหมายผิดเพี้ยนไป หรือได้ความหมายจากคำศัพท์ที่ไม่ตรงกับความต้องการ เป็นส่วนที่ผู้ใช้งานสามารถทดสอบการออกเสียงภาษาอังกฤษของตนเอง ซึ่งเป็นการฝึกการออกเสียงภาษาอังกฤษไปในตัว หากมีเวลา และเป็นการตอบโจทย์การออกแบบเพื่อคนทุกคน (Universal Design)
  4. แอพพลิเคชันมีขนาดไม่ใหญ่เกินไป ไม่หนักเครื่อง เนื่องจากใช้บริการผ่าน Cloud Server หมายถึงคำศัพท์ต่างๆจะอยู่บนอินเทอร์เน็ต จะไม่อยู่ในเครื่องของผู้ใช้งาน ดังนั้นการใช้งานจึงมีความจำเป็นต้องต่ออินเทอร์เน็ตสำหรับการค้นหา
  5. การใช้งานง่าย เนื่องจากมีการออกแบบ User Interface ไม่ใช้ซับซ้อน โดยคำนึงถึง User friendly ผู้ใช้งานสามารถเรียนรู้การใช้งานด้วยตนเองอย่างง่าย
  6. คำศัพท์ครอบคลุมกับความต้องการข้อมูล ในส่วนนี้มีข้อเสนอแนะมาว่า ควรจะเพิ่มเติมคำศัพท์บางคำศัพท์เข้าไปด้วย ซึ่งทางผู้วิจัยจะรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดและยังไม่ครอบคลุมรวมถึงคำศัพท์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นทุกวัน ในส่วนนี้สามารถเพิ่มไปยังคลังคำศัพท์ผ่านระบบเครือข่ายได้สะดวก และจะมีการอัฟเดทอย่างต่อเนื่อง
  7. แอพพลิเคชันคลังคำศัพท์ทางดิจิทัลมีเดีย ตอบโจทย์กับความต้องการในการค้นหาคำศัพท์เนื่องจากคำศัพท์เฉพาะทางนั้นมีมาก และยังไม่มีการรวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของแอพพลิเคชันมากนัก จึงสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งาน

ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป

  1. ควรมีภาพประกอบ หรือวิดีโอประกอบการอธิบายคำศัพท์นั้นๆเข้าไปด้วย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ง่าย
  2. การวิจัยครั้งต่อไปควรเพิ่มฟังก์ชันในการนำเสนอคำศัพท์ใหม่ ๆ ทุกวัน เพื่อให้ผู้ใช้งานได้เกิดการเรียนรู้ไปในตัว และเป็นการทำให้ผู้ใช้งานอยากจะใช้งานแอพพลิเคชันมากยิ่งขึ้น
  3. หากมีการเพิ่มฟังก์ชันของเกม เพื่อให้ผู้ใช้งานได้เรียนรู้คำศัพท์ไปด้วย ไม่เป็นแค่การค้นหาคำศัพท์ ก็จะทำให้แอพพลิเคชันมีการใช้งานมากยิ่งขึ้น สนุก และสามารถเรียนรู้คำศัพท์ไปในตัว น่าจะทำให้เกิดประโยชน์สูง
  4. คำศัพท์ควรมีการอัฟเดทอย่างสม่ำเสมอ เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีคำศัพท์ใหม่ๆเกิดขึ้นในทุก ๆ วัน
  5. ควรเพิ่มคลังคำศัพท์เทคนิคในศาสตร์อื่น ๆ หรือสาขาอื่น ๆ เพิ่มเติม