The development of online radio stations for education and career. Rajamangala University of Technology Thanyaburi station FM 107.75 MHz.

นักวิจัย วิภาวี  วีระวงศ์  และศรชัย  บุตรแก้ว

ปีที่พิมพ์ 2558


บทคัดย่อ (Abstract) 

   การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้บริการสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM 107.75 MHz และ เพื่อพัฒนาสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM 107.75 MHz

          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ กลุ่มที่ 1 นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีปีการศึกษา 2557 จำนวน 400 คนได้มาจาการการสุ่มแบบหลายขั้นตอน(Multi-stage Sampling) กลุ่มที่ 2 อาจารย์ และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีปีการศึกษา 2557 จ านวน 333 คนได้มาจาการการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling)กลุ่มที่ 3 ประชาชนทั่วไปที่มีอายุระหว่าง 18-50 ปีที่อาศัยอยู่ในตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี  จำนวน 364 คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบบังเอิญ (Accidental Selection)  โดยได้ทำการวิจัยตามกระบวนการขั้นตอนดังนี้ สำรวจสภาพปัญหาการใช้สถานีวิทยุออนไลน์ สำรวจความคิดเห็นที่มีต่อสถานีวิทยุออนไลน์ หลังจากนั้นจึงพัฒนาสถานีวิทยุออนไลน์ขึ้น โดยได้ทำการประเมินคุณภาพ และ ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM 107.75 MHz

ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของกลุ่มนักศึกษามีความพึงพอใจต่อสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษา และอาชีพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีอยู่ในระดับมาก (X=4.26 , S.D = .218) กลุ่มอาจารย์และบุคลากรมีความพึงพอใจต่อสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีอยู่ในระดับมาก  (X=4.25 , S.D = .213) และกลุ่มกลุ่มประชาชนทั่วไปนักศึกษามีความพึงพอใจต่อสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีอยู่ในระดับมากที่สุด  ( X=4.73 ,  S.D = .217)

คำสำคัญ:  สถานีวิทยุ, ออนไลน์, มหาวิทยาลยัเทคโนโลยีราชมงคลธัญบรุี


วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

  1. เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ใช้บริการสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM 107.75 MHz
  2. เพื่อพัฒนาสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี FM 107.75 MHz

ขอบเขตการวิจัย

1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ผู้ใช้บริการป้ายสัญลักษณ์บอกทางภายใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีปีการศึกษา 2557  จำนวน 22,878 คน

 กลุ่มที่ 2 อาจารย์ และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีปีการศึกษา 2557 จำนวน 1,887 คน

กลุ่มที่ 3 ประชาชนทั่วไปที่มีอายุระหว่าง 18-50 ปีที่อาศัยอยู่ในตำบลธัญบุรี จำนวน 46,939 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น

กลุ่มที่ 1 นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีปีการศึกษา 2557  จำนวน 400 คนได้มาจาการการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling)

กลุ่มที่ 2 อาจารย์ และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีปี การศึกษา 2557 จำนวน 333 คนได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling)

กลุ่มที่ 3 ประชาชนทั่วไปที่มีอายุระหว่าง 18-50 ปีที่อาศัยอยู่ในตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี  จำนวน 364 คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบบังเอิญ (Accidental Selection)

3การศึกษาความต้องการของผู้ใช้บริการสถานีวิทยุออนไลน์ มุ่งศึกษาความต้องการทางด้านรูปแบบสถานีวิทยุออนไลน์รูปแบบรายการวิทยุออนไลน์ และข้อเสนอแนะอื่น ๆ ของผู้ใช้บริการ

4. การพัฒนาสถานีวิทยุออนไลน์ มุ่งการพัฒนาสถานีวิทยุออนไลน์ในรูปแบบเว็บไซต์ที่ใช้งานกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว พึงพอใจ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ

นิยามศัพท์เฉพาะ 

  1. วิทยุออนไลน์ (Radio Online) หมายถึงการ Streaming Audio หรือการแพร่กระจายสัญญาณเสียงจากเครื่องผ่านระบบอินเทอร์เน็ตไปยังผู้ฟังได้ทั่วโลก
  2. สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาและอาชีพ หมายถึง สถานีวิทยุในสังกัดของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทำหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร อาชีพ
  3. ผู้ฟัง หมายถึง ผู้ที่รับฟังสถานีวิทยุออนไลน์

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

  1. เป็นแนวทางในการพัฒนาสถานีวิทยุออนไลน์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ฟังและผู้รับบริการ
  2. มีสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพที่เข้าถึงผู้ใช้บริการทุกรูปแบบและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ฟัง
  3. เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบสถานีวิทยุออนไลน์และรายการวิทยุออนไลน์ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต

สรุปผล 

  1. ผู้ใช้บริการมีความต้องการสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM 107.75 MHz คิดเป็นร้อยละ 85.00
  2. ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM 107.75 MHz อยู่ในระดับมาก

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 

จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้พบว่าผู้ใช้บริการมีความต้องการสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM 107.75 MHz คิดเป็นร้อยละ  85.00 เนื่องจากโลกในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไปอย่างมากมายทำให้โลกในปัจจุบันไร้พรมแดน ชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปเป็นโลกแห่งความสะดวกรวดเร็วดังนั้นสื่อทุกชนิด จึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งสถานีวิทยุดังที่ นรินทร์ นำเจริญ(2546) ได้ กล่าวว่าลักษณะเด่นของวิทยุอินเทอร์เน็ตสามารถฟังรายการวิทยุอินเทอร์เน็ตพร้อมกับทำงานอื่นจากคอมพิวเตอร์ได้ และผู้ฟังมีสิทธิในการเลือกฟังเนื้อหารายการมากขึ้น ผู้ฟังสามารถที่จะเลือกรับหรือไม่รับฟังรายการใดก็ได้ตามแต่ความสนใจของตน สอดคล้องกับงานวิจัยของ ทรรศกมล พัดทอง (2548) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบรายการวิทยุอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา กรณีศึกษารายการวิทยุอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาคณะศึกษาศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรพบว่ารูปแบบรายการที่เหมาะสม คือ รายการแบบนิตยสาร รายการสารคดี รายการสัมภาษณ์และรายการสนทนา ตามลำดับ เนื้อหาและ วิธีการนำเสนอเป็นแบบไม่เป็นทางการ และไม่จำกัดสาขาวิชา เช่นเดียวกับงานวิจัยของ ธีรภาพ เป็ง จันทร์  (2551) ที่ได้ทำการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์และพัฒนาเว็บไซต์วิทยุออนไลน์ : กรณีศึกษาสถานี วิทยุเสียงสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวิธีการศึกษาประกอบด้วย การวิเคราะห์หน้าที่เว็บไซต์ของวิทยุออนไลน์ ด้วยการทดสอบ การใช้งานเว็บไซต์วิทยุออนไลน์ที่มีอยู่เดิมควบคุมกับเว็บไซต์ของสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง วารสารสิ่งพิมพ์ ฐานข้อมูลและเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามและการประชุมกลุ่มจากนั้นผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์วิทยุออนไลน์ของสถานีวิทยุเสียงสื่อมวลชน รวมทั้งมีการประเมินผลเว็บไซต์วิทยุออนไลน์ของสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชนที่พัฒนาขึ้นด้วยผลการประเมินพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระดับมาก เพราะอาจเนื่องมาจากความสมดุลในองค์ประกอบของศิลป์ที่ทำให้ผู้ใช้บริการชื่นชอบ และความกลมกลืนที่จะประสานสัมพันธ์กันขององค์ประกอบของศิลป์ ทำให้ใช้งานได้สะดวก

ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บริการพบว่าผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM 107.75 MHz อยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เนื่องจากสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพที่ได้พัฒนาขึ้นได้พัฒนาตามองค์ประกอบและความต้องการของผู้ฟังที่ได้จากผลการสำรวจ อีกทั้งสถานีวิทยุออนไลน์มีความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลรายการ และผู้ฟังสามารถเลือกรับฟังรายการได้ตามความต้องการสอดคล้องกับการวิจัยของ นัจญมา มะแอเคียน (2553) ที่ได้ทำการวิจัยเรื่อง การจัดตั้งสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาและวิจัยของภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลการศึกษาพบว่า สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาและวิจัยมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ซึ่งผู้ฟังสามารถรับฟังการกระจายเสียงออกอากาศได้ชัดเจนในระยะทางที่ห่างจากสถานีตั้งแต่ 0 ถึง 5 กิโลเมตร ทางทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก และผู้ฟังมีความพึง พอใจต่อการกระจายเสียงของสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาและวิจัยอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกับผลการศึกษาของ พิไลวรรณ พู่พัฒนศิลป์ (2553) ได้ทำการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาสถานีวิทยุทำการประเมินคุณภาพ และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสถานีเพื่อการศึกษาออนไลน์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร โดยผลการศึกษาพบว่า ผู้ฟังมีความต้องการต้องการสถานีวิทยุออนไลน์ 64.36 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์ดี คุณภาพด้านสื่ออยู่ในเกณฑ์ดี และกลุ่มผู้ฟังมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 

  1. ควรศึกษาวิจัยลึกลงไปเกี่ยวกับรายละเอียดของรายการที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังกลุ่มต่าง ๆ ในการจัดรายการในสถานีวิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพ
  2. ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบหรือผลประโยชน์ของการรับฟังรายการจากสถานี วิทยุออนไลน์เพื่อการศึกษาและอาชีพจากกลุ่มผู้ฟังต่าง ๆ