Study visual techniques in the Nobody knows, Directed by Hrokasu Kore-eda

โดย พิบูลย์ สักลอ, พงศธร ผลดี, ปิยะวัฒน์ ตั้งธนเจริญพงษ์ และภรณี วรรณะภูติ

ปีการศึกษา 2555


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเทคนิคทางภาพในภาพยนตร์เรื่อง NOBODY KNOWS ของผู้กำกับญี่ปุ่น HIROKAZU KORE-EDA โดยผู้ศึกษาได้ทำการผลิตภาพยนตร์นำเสนอการใช้เทคนิคทางภาพ จำนวน 1 เรื่องโดยนำภาพยนตร์เรื่อง NOBODY KNOES ของผู้กำกับ HIROKAZU KORE-EDA มาเป็นตัวอย่างในการสร้าง และได้เขียนบทภาพยนตร์สั้นเรื่อง Date รักนี้มีลุ้นขึ้นมา เพื่อสร้างภาพยนตร์สั้น สร้างภาพยนตร์โดยใช้กล้อง DSLR ในการถ่ายทำภาพยนตร์ เมื่อทำการถ่ายทำเรียบร้อยแล้ว ทำการตัดต่อด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Cs5 และบันทึกลงบนแผ่นดีวีดีเพื่อใช้เป็นสื่อบันเทิง แล้วทำการประเมินในด้านคุณภาพของสื่อภาพยนตร์ทางด้านเทคนิคทางภาพ ให้นักวิจารณ์ภาพยนตร์เป็นผู้ประเมิน

จากผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินภาพยนตร์สั้นเรื่อง Date รักนี้มีลุ้น ผู้ชมภาพยนตร์มีความพึงพอใจในระดับมาก ซึ่งน่าจะมาจากการจัดองค์ประกอบของภาพได้ดี ภาพยนตร์มีการใช้เทคนิคทางภาพเพื่อดึงดูดความสนใจผู้ชม ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินของอาจารย์กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน ที่ทำการประเมินความพึงพอใจในภาพยนตร์อยู่ในระดับมากเช่นกัน


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางภาพที่ปรากฏเด่นชัด ของผู้กำกับชาวญี่ปุ่นชื่อ HIROKAZU KORE-EDA และเพื่อผลิตภาพยนตร์สั้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

เพื่อเข้าใจถึงเทคนิคทางภาพที่ปรากฏเด่นชัด ของผู้กำกับชาวญี่ปุ่นชื่อ HIROKAZU KORE-EDA และเพื่อผลิตภาพยนตร์สั้นได้

ขอบเขตของการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาจะทำการศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคทางภาพของผู้กำกับภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่นชื่อ HIROKAZU KOREEDA เรื่อง Nobody Knows (2004) และผลิตภาพยนตร์สั้นมีความยาว 10 นาที การถ่ายทำจะถ่ายทำด้วยกล้อง CANON 550D เลนส์ใช้ CANON LENS 18-55 mm และCANON Fix 50 mm บันทึกข้อมูลโดย Sandisk 16 GB Class 10 memory card พร้อมบันทึกเสียงในรูปแบบ Non-Linear ตัดต่อทั้งภาพและเสียงด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro CS5 นำผลที่ได้ซึ่งอยู่ในรูปแบบ DVD มานำเสนอโดยวัดผลจากการชมภาพยนตร์จากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจารณ์ อาจารย์กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน


สรุปผลการศึกษา

ในการศึกษาเรื่องการศึกษาเทคนิคทางภาพในภาพยนตร์เรื่อง NOBODY KNOW ของผู้กำกับญี่ปุ่น ฮิโรคาสึ โคเรเอะดะ และผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงเทคนิคในการใช้ทางภาพจากผู้กำกับชาวญี่ปุ่นท่านนี้ พบว่า การใช้เทคนิคการตั้งกล้องนิ่ง ๆ ในการถ่ายภาพนั้น สามารถถ่ายทอดอารมณ์ของนักแสดงออกมาได้ดี โดยไม่เป็นการรบกวนอารมณ์ของนักแสดงในขณะที่นักแสดงกำลังทำการแสดงอยู่ จากที่ได้สอบถามถึงเทคนิคนี้กับอาจารย์กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน นักวิจารณ์ภาพยนตร์ ท่านได้มีความคิดเห็นว่า ภาพยนตร์ เรื่อง Date รักนี้มีลุ้น มีความชัดเจนในระดับหนึ่ง ถ้าพูดถึงเรื่องของการถ่ายภาพ และการวางมุมกล้อง ซึ่งการถ่ายภาพนั้นระยะการถ่ายในรูปแบบของ LONG SHOT ส่วนใหญ่เอามาใช้ได้ดี ทั้งนี้ผู้เขียนได้เขียนบทให้น่าติดตามระดับหนึ่ง ทำให้เรื่องราวในหนังมีการพัฒนาของเนื้อเรื่อง จากต้นไปจนถึงตอนปลาย ซึ่งประเด็นนี้ได้ศึกษาและกำหนดรูปแบบของบทให้มีความคล้ายคลึงกับเรื่อง Nobody Know โดยท่านอาจารย์กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคินให้ความคิดเห็นว่า มันเป็นการทิ้งให้คนดูได้คิดต่อ ซึ่งในหนังของ ฮิโรคาสึ โคเรเอะดะ ผู้กำกับเขาไม่พูดหรือบอกว่าเรื่องราวจะจบยังไง เด็กพวกนั้นจะเป็นยังไงซึ่งผู้กำกับเขาไม่ได้บอกตรงนี้ ปล่อยคนดูได้ติดตามกันเอาเอง

นอกจากนี้ภาพยนตร์เรื่อง Date รักนี้มีลุ้น ยังมีการองค์ประกอบของภาพให้ถ่ายทอดเรื่องราวให้เนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ท่านอาจารย์กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน ได้ให้คำติชมถึงการจัดองค์ประกอบภาพว่า โดยส่วนใหญ่ทำได้ดี มีทั้งเส้นนำสายตา และกรอบภาพที่นำเอามาใช้ อย่างเช่นฉากสะพานหรือฉากที่มีผู้หญิงคนหนึ่งนั่งรอผู้ชายคนหนึ่งอยู่ ก็สามารถนำเอามาตีความหมายได้เช่นกัน

หลังจากได้ปฏิบัติงานและได้เผยแพร่ผลงานทั้งในเว็บไซท์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก็มีทั้งผู้ติชมและให้คำแนะนำเกี่ยวกับภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก ทางคณะผู้จัดทำได้รับรู้ถึงข้อบกพร่องและปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ภาพที่ได้ไม่มีคุณภาพมากนัก การกำกับนักแสดง และการใช้เทคนิคทางภาพกับความเหมาะสมในการนำเทคนิคของภาพมากำกับภาพ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการใช้เทคนิคอันเป็นลักษณะเด่นขอผู้กำกับฮิโรคาสึ โคเรเอะดะ และจากนี้เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาต่อไป

อภิปรายผลการศึกษา

ลักษณะทางภาพในภาพยนตร์ เรื่อง Dateรักนี้มีลุ้น จะใช้ภาพที่เป็นมุมกว้าง ภาพส่วนใหญ่จะเป็น Long shot เป็นภาพแทนสายตาบุคคลที่ 3 ซึ้งมีความสอดคล้องดังที่ กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน (2556:บทสัมภาษณ์) ลักษณะเด่นทางภาพของผู้กำกับฮิโรคาสึ โคเรเอะดะ จะเป็นมุมภาพที่มีลักษณะเป็นมุมกว้างๆ จะไม่เข้าไปใกล้ๆ ตัวละครมากเกินไป ดังนั้นภาพส่วนใหญ่ที่ออกมาจะเป็น Long shot หรืออย่างใกล้ที่สุดก็จะเป็น Medium Shot เสมือนเป็นภาพแทนสายตาบุคคลที่ 3 อาจจะยกเว้นบางตอนที่จะให้นักแสดงมองกล้องตรง ๆ หรือพูดกับกล้องเลย ไม่ได้ความว่า กล้อง คือ ตัวละคร แต่กล้อง คือ คนดู

ภาพยนตร์ทั่วไปมักจะให้คนมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละคร และการใช้ภาพจะเข้าไปใกล้ชิดกับตัวละครมาก ให้คนดูเห็นถึงอารมณ์ต่างๆที่ตัวละครแสดงออกมาแต่ของ ฮิโรคาสึ โคเรเอะดะ จะนิยมใช้อีกแบบ คือเขาจะให้อยู่ห่างๆโดยให้คนดูเป็นบุคคลที่ 3 ให้นักแสดงดำเนินเรื่องเอง แล้วให้คนดูเป็นผู้ตัดสินเอาเองโดนไม่มีอารมณ์ร่วมกับภาพยนตร์หรือตัวละคร

เสียงประกอบที่ใช้ในภาพยนตร์เรื่อง Date รักนี้มีลุ้น จะใช้เสียงที่เป็นเพลงและใช้เสียงประกอบเป็นเสียงลม เสียงนก เสียงจากธรรมชาติ ซึ่งมีความสอดคล้องดังที่ กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน (2556:บทสัมภาษณ์) เสียงประกอบนั้น เขาจะไม่ใช้ดนตรีประกอบดนตรีประกอบของเขาจะน้อยมากหรือถ้ามีก็จะเป็นเพลงเลย เสียงจะเป็นลักษณะเสียงธรรมชาติมากกว่า อย่างเช่น เสียงลม เสียงรถยนต์ มากกว่าที่จะใช้เสียงดนตรี

การจัดวางตัวละครหรือนักแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Dateรักนี้มีลุ้น ส่วนใหญ่จะให้นักแสดงดำเนินเรื่องแบบธรรมชาติ มากกว่าที่จะเปลี่ยนมุมกล้องตามตัวละครหรือนกแสดง ซึ่งมีความสอดคล้องดังที่ กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน (2556:บทสัมภาษณ์) ฮิโรคาสึ โคเรเอะดะ จะใช้การจัดภาพจัดตำแหน่งของตัวละครมากกว่าการเปลี่ยนมุมกล้องโดยให้นักแสดง แสดงไปตามธรรมชาติมากกว่าที่จะใช้การตัดต่อมุมกล้อง

ภาพยนตร์เรื่อง Date รักนี้มีลุ้น เป็นภาพยนตร์บังเทิงที่นำกลิ่นของภาพยนตร์สารคดีเข้ามาผสมผสานเพื่อให้เกิดความสวยงามในภาพยนตร์เรื่อง Date รักนี้มีลุ้น ซึ้งมีความสอดคล้องดังที่อรรณนพ ชินตะวัน (2553) กล่าวว่า การนำเสนอของ ฮิโรคะสึ โคเรเอะดะ เป็นภาพยนตร์ที่ผสมผสานระหว่างภาพยนตร์สารคดีกับภาพยนตร์บันเทิง อันทำให้เกิดสุนทรียภาพในการเล่าเรื่องด้วยแนวใหม่ขึ้น

ปัญหาในการทำงาน

  1. การถ่ายทำไม่เป็นไปตามกำหนด เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน
  2. การถ่ายภาพโดยใช้เลนส์ Canon Lens 18-55 mm ภาพที่ได้ไม่มีคุณภาพมากนัก
  3. แสงหลักที่ใช้เป็นแสงธรรมจากธรรมชาติ จึงทำให้สีของแสงที่ปรากฏบนภาพไม่มีความต่อเนื่องกัน
  4. อุปกรณ์ในการรองรับกล้องไม่มีคุณภาพ จึงทำให้ภาพที่ได้นั้นสั่นไหว
  5. เนื่องจากมีเสียงรบกวนมากระหว่างถ่ายทำ ไม่สามารถตัดเสียงรบกวนได้ทำให้คุณภาพเสียงมีการถูกรบกวนจึงทำให้คุณภาพของเสียงที่ได้นั้นมีคุณภาพลดลง

 

ข้อเสนอแนะ

  1. เรื่องของนักแสดงควรจะให้นักแสดงซ้อมก่อนการแสดง
  2. เพลงที่ใช้ไม่ควรมีมากเกินไป
  3. ควรหาประเด็นที่น่าสนใจมากกว่านี้
  4. การเลือกใช้อุปกรณ์ ควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีการรองรับที่มั่นคง เพื่อลดการสั่นไหวของภาพ
  5. ในเรื่องของเสียง ควรใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อลดเสียงรบกวน
  6. กล้องที่ใช้ควรมีคุณภาพที่เหมาะสมกับการถ่ายทำเพื่อที่จะได้ภาพยนตร์ที่มีคุณภาพมากกว่านี้

รับชมผลงาน