The relationship between school adminstrators transformational leadership and school effectiveness under the secondary educational service area office 3 in Ayutthaya

โดย: รุ่งนภา ปราบแก้ว

ปี: 2559

บทคัดย่อ (ABSTRACT)

การวิจัยวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3)ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการและข้าราชการครูสายผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิพลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

The purpose of this research was to examine 1) the level of school administrators’ transformational leadership under under the Secondary Educational Service Area Office 3 in Ayutthaya, 2) the level of school effectiveness and 3) the relationship between school administrators’ transformational leadership and the level of school effectiveness.

The samples were 306 administrators including school directors, deputy directors and teachers under Secondary Educational Service Area Office 3 in Ayutthaya. The research instrument was a questionnaire with the a rating scale up to 5. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and correlation coefficient of Pearson.

The research findings were as follows: 1) the level of school administrators’ transformational leadership was high, 2) the level of school effectiveness was high. 3) the relationship between school administrators’ transformational leadership and the level of school effectiveness under the Secondary Educational Service Area Office 3 in Ayutthaya were high with, a statistical significance at .01

Download: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา