Effect of sand mixture on shear strength and flexural strength of soil cement mixed with sand.

โดย: อนิรุทธิ์ โพธิ์สุวรรณ

ปี: 2559

บทคัดย่อ (ABSTRACT)

โครงงานวิจัยนี้ทำการศึกษาถึงผลกระทบของปริมาณทรายผสมเพิ่มที่มีผลต่อกำลังรับแรงเฉือน และกำลังแรงดัดของดินเหนียวผสมซีเมนต์ด้วยการทดสอบในห้องปฏิบัติการ

ดินเหนียวอ่อนที่ใช้ทำการทดสอบคือดินเหนียงกรุงเทพ ส่วนทรายที่ใช้ในการทดสอบเป็นทรายกาญจนบุรีผ่านการร่อนตะแกรงเบอร์ 4 แต่ค้างอยู่บนตะแกรงเบอร์ 10 ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 ตลอดการทดลอง ขั้นแรกนำดินเหนียวมาผสมกับทรายที่ 0, 20 และ 40% โดยน้ำหนักแห้งของดินเหนียว ส่วนผสมที่ได้จะถูกผสมกับซีเมนต์ที่10, 20 และ 40% โดยน้ำแห้งของส่วนผสม ปริมาณความชื้นของส่วนผสมถูกปรับให้มีค่าสูงกว่าค่าขีดจำกัดเหลวของส่วนผสมประมาณ 5%

จากนั้นนำส่วนผสมที่ผสมซีเมนต์แล้วมาบรรจุในโมลด์ 2 ชนิด ได้แก่ 1) โมลด์ทรงกระบอก ที่มีขนาดเส้นผ่านศุนย์กลาง 3.5 เซนติเมตร และสูง 7 เซนติเมตร สำหรับการทดสอบแรงกดแกนเดียว และการทดสอบแรงอัดสามแกน และ 2) โมลด์รูปคาน ขนาด 7.5×7.5×35 ลูกบาศก์เซนติเมาตร สำหรับการทดสอบหาค่ากำลังรับแรงดัด โดยวิธีกดคานสองจุดจากการแบ่งคานออกเป็นสามส่วนเท่า ๆ กัน หลังจากทำการบ่ม 28 วันจึงเริ่มทำการทดสอบ ได้ผลดังนี้ การเพิ่มปริมาณทรายในดินเหนียวทำให้ค่าแรงกดแกนเดียว ค่าองศาความเสียดทานภายใน และค่าโมดูลัสการแตกร้าวสูงขึ้น สุดท้ายความสัมพันธ์ระหว่างค่าผลการทดสอบของทั้ง 3 ชนิด ได้ถูกนำเสนอ

The aim of this study was to investigate the shear and flexural strengths of clay-soil cement mixed with different portions of sand. The testing was conducted in the laboratory.

The soil sample was soft Bangkok clay deposit and the sand was Kanchanaburi sand deposit. The particle size of sand was the one passing through sieve No. 4 but retained on sieve No. 10. The cement used was a Portland Cement Type 1. Firstly, the clay sample was mixed with sand of 0, 20 and 40% by dry weight of clay. Then the aggregate of clay and sand was mixed with cement of 10, 15 and 20% by dry weight. The water content of the aggregate was adjusted to approximately 5% above its liquid limit.

After that, the second aggregate was put into 2 molds: 1) a cylinder mold with a diameter of 3.5 cm X 7 cm for the unconfined compression test and the CU test, and 2) a beam mold with the size of 7.5´7.5´35 cm3 for the third point loading test. After 28 curing days, the prepared specimens were tested. It was found that the more amount of sand, the higher unconfined compressive strength (qu), angle of internal friction and modulus of rupture. Finally, the correlations of the 3 testing results were presented.

Download: ผลกระทบของการผสมทรายที่มีผลต่อกำลังรับแรงเฉือนและกำลังรับแรงดัดของดินซีเมนต์ผสมทราย