Conflict management of secondary school administrators in Uthai Thani province

โดย กมลนัทธ์ ศรีจ้อย

ปี 2560


บทคัดย่อ  

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี และ 2) เปรียบเทียบวิธีการบริหารจัดการความขัดแย้งผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี จำแนกตาม เพศ อายุ การศึกษา และประสบการณ์ในการบริหารงาน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่าย หัวหน้ากลุ่มสาระ ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี จำนวน 148 คน โดยกำหนดจากตารางสุ่มของเครจซี่ และ มอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การทดสอบค่าที ใช้การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการความขัดแย้งด้านประนีประนอม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การบริหารจัดการความขัดแย้งด้านการร่วมมือ ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการเอาชนะ และ 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผู้บริหารที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์ในการบริหารงานกับการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี จำแนกตามระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


Abstract

This study aimed to 1) study the approach in managing conflict of secondary school administrators in Uthai Thani Province, and 2) compare their approach of conflict management classified by sex, age, educational qualification and administrative experience.

The population was 148 school administrators, vice school administrators, department heads, and heads of learning area currently working at secondary schools in Uthai Thani Province. The sample size was set by using the table of Krejcie & Morgan. The research instrument was a rating-scale questionnaire. The statistics for data analysis comprised percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way analysis of variance.

The findings revealed that 1)compromising was rated the highest level of conflict management approach followed by collaboration while competition was the lowest, and 2) when the administrators’ sex, age and their administrative experience were compared, their approach in managing conflict was not different. However, when their educational qualification was considered, the approach of conflict management was statistically different at a significant level of 0.05.

 

Download : การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี