Learning Management with Open Approach to Develop Mathematical Problem Solving Skill of Primary 4 (Grade 4) Students

โดย ศุภมาศ แก้วมณี

ปี 2561


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ก่อน เรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบ ปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการแบบเปิด 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดย วิธีการสอนแบบปกติและการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการแบบเปิด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยรูปแบบกึ่งทดลอง (Quasi–Experimental Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบึงบา ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2561 จำนวน 2 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 70 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 35 คน และ กลุ่มควบคุมจำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการแบบเปิด 2) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ ทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยวิธีการสอนแบบปกติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 2) ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้โดยวิธีการแบบเปิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4 ที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้โดยวิธีการแบบเปิด หลังเรียนสูงกว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบ ปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


Abstract

This study aimed to: 1) compare Mathematical problem solving skill before and after learning of Primary 4 (Grade 4) students with normal teaching style, 2) compare Mathematical problem solving skill before and after learning of Primary 4 (Grade 4) students who were treated with Open Approach, and 3) compare Mathematical problem solving skill of Primary 4 (Grade 4) students with normal teaching style and Open Approach. This research was a quasi-experimental research. The samples were 70 students who were in Primary 4, first semester of academic year 2018, Bung Ba community school. Cluster sampling was used to divide 35 students into experimental group and another 35 students into controlled group. The research instruments were 1)lesson plans of Mathematics: adding, subtracting, multiplying, and dividing for Primary 4 (Grade 4) students with Open Approach, and 2) Mathematical problem solving test for Primary 4 (Grade 4) students. The statistics for data analysis were mean and standard deviation. The statistics for comparison were paired sample t-test, and independent sample t-test. The study revealed that 1) Mathematical problem solving skill after learning of Primary 4 (Grade 4) students treated with normal teaching style was higher than Mathematical problem solving skill before learning with a statistical significance at a level of 0.05, 2) Mathematical problem solving skill after learning of Primary 4 (Grade 4) students treated with Open Approach was higher than Mathematical problem solving skill before learning with a statistical significance at a level of 0.05, and 3) Mathematical problem solving skill of Primary 4 (Grade 4) students treated with Open Approach was higher than one of treated with normal teaching style with a statistical significance at a level of 0.05.

Download : Learning Management with Open Approach to Develop Mathematical Problem Solving Skill of Primary 4 (Grade 4) Students