Perceived organizational support influencing organizational citizenship behavior of operation employees at Thai Obayashi corp., ltd.

โดย สมพงษ์ เพชรี

ปี 2561

บทคัดย่อ


วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ไทยโอบายาชิ จำกัด จำนวน 282 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และความน่าเชื่อถือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน t-test, One – way ANOVA และสมการถดถอยพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมติฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และระดับพฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การทั้งในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ จำแนกตามตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพการสมรสที่ต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การไม่แตกต่างกัน ส่วนระยะเวลาการปฏิบัติงานต่างกันรับรู้พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 นอกจากนั้นยังพบว่า การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การในภาพรวมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


Abstract

The purposes of this research were 1) to investigate the level of perceived organizational support and the level of organizational citizenship behavior among operation employees, 2) to compare opinions concerning organizational citizenship behavior as classified by personal factors, and 3) to study the influence of perceived organizational support on organizational citizenship behavior.

The samples utilized in this study comprised 282 employees working at Thai Obayashi Corp., Ltd. Data were collected using a questionnaire that had content validity and reliability. The data were analyzed by using descriptive statistics, which were comprised of Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation; and inferential statistics, which included Independent Sample t-test, One-way ANOVA and Multiple Linear Regression for hypothesis testing.

The research findings revealed that the overall and individual levels of perceived organizational support and organizational citizenship behavior were at a high level. When comparing the opinions on organizational citizenship behavior based on different personal factors, including gender, age, education, and marital status, it was found that there were no significant differences, except for the periods of the employment factor which were significantly different at the 0.05 level. In addition, it was also found that the overall perceived organizational support had an influence on the organizational citizenship behavior at the 0.05 level of statistical significance.

Download: การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ไทยโอบายาชิ จำกัด